การออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมอัตลักษณ์ล้านนา

Main Article Content

ณฐพร เทียวพานิช

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมที่สามารถสะท้อนอัตลักษณ์ล้านนา โดยมีจังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่กรณีศึกษา วิธีการวิจัย คือ รวบรวมข้อมูลภาคเอกสาร และลงพื้นที่ภาคสนาม เพื่อศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมเดิม และศิลปวัฒนธรรมล้านนา จากนั้นได้ทาการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา เพื่อหาอัตลักษณ์ที่เหมาะสม เบื้องต้นผู้วิจัยได้ทาการออกแบบจานวน 3 รูปแบบ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนาได้ทาการคัดเลือกให้เหลือเพียงรูปแบบเดียวที่ดีที่สุด และนาข้อเสนอแนะมาพัฒนาผลงาน จากนั้นนางานออกแบบไปประเมินผลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย ในเขตอาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จานวน 100 คน และประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา เพื่อตรวจสอบผลการวิจัยว่าตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ บทสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา แบบสอบถามคัดเลือกงานออกแบบ แบบประเมินวัดระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว และแบบประเมินผลงานออกแบบกับผู้เชี่ยวชาญ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมที่ได้แนวคิดมาจาก วิหารและลวดลายประดับสถาปัตยกรรม โดยมีวิหารวัดต้นเกว๋นเป็นต้นแบบของวิหารล้านนา ออกแบบด้วยการตัดทอนระดับ Indexical Image สื่อสารแบบตรง โดยนาองค์ประกอบของวิหารมาประยุกต์ ให้สอดคล้องกับองค์ประกอบของการออกแบบ สามารถออกแบบป้ายสัญลักษณ์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ล้านนาได้ในระดับ “มาก” และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ คือ ระบบป้ายสัญลักษณ์สามารถสื่อสารได้ชัดเจน เข้าใจง่าย มีความโดดเด่นเป็นที่สนใจสาหรับนักท่องเที่ยว มีความเป็นเอกภาพ ทั้งในเรื่องของรูปร่างรูปทรง ขนาด สี และตัวอักษร มีความเป็นสากลภายใต้อัตลักษณ์ประจาท้องถิ่น รูปแบบมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของอาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และสามารถส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับจังหวัดเชียงใหม่ได้

Abstract
The objective of this research is to study an Environmental graphic design for Lanna identity. Chiang Mai is chosen as a case study. The research methodology started from data collectly from related document and fieldwork in order to investigate existing way finding systems in the study area and study of Lanna culture. At that point researcher has interviewed experts in order to discover the most appropriate Lanna identity. In the beginning, 3 styles of signage system has been designed, then were brought to the same experts to select the best style and their suggestions were taken for further development. The selected style was then evaluated by the samples of 100 populations in the area of Chiang Mai district. Besides, assessed by both design experts and Lanna culture experts then check the result if it resembles the established objective. The tools for this research is a structured interview of experts, questionnaires to choose the approved, evaluation form for samples and evaluation form for the experts. The data were collected and analyzed by descriptive statistics.
An Environmental graphic design, inspired by Vihara and Decoration of Lanna, is designed by “Indexical Image: Denotation”. The structure and style of Vihara is brought to apply with the design of a way finding system. The result of the research is stated that this design can reflect the culture of Lanna and can be used functionally according to regular principle. The design communicates clearly and stands out which is eye-catching to tourists. The work is also very unique in terms of shape, dimension, color and typography. It substantially looks international under localization identity which makes the image of Chiang Mai province more attractive.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ