การประเมินการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

Main Article Content

ยุวธิดา ม่วงเจริญ
สุรชัย มีชาญ

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านภาควิชากุมารเวช

ศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้รูปแบบการประเมินของเคริกแพททริก เพื่อประเมินในด้านปฏิกิริยา ด้านการเรียนรู้ ด้านพฤติกรรม และด้านผลลัพธ์ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วยแพทย์ประจำบ้าน เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และผู้มารับบริการ รวมทั้งหมด 274 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าด้านปฏิกิริยา การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านฯ ตามความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในประเด็นเนื้อหาของหลักสูตร วิธีการฝึกอบรม สื่อการสอนและบรรยากาศการฝึกอบรมและด้านอาจารย์ มีความพร้อมและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อนำข้อมูลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ผลการประเมินอยู่ในระดับผ่าน ด้านการเรียนรู้ แพทย์ที่จบการฝึกอบรมประจำบ้านฯ มีผลการสอบความรู้ด้านกุมารแพทย์ (ข้อสอบ CRQ, MCQ) และด้านทักษะทางคลินิกด้านกุมารแพทย์ (ข้อสอบ OSCE) ค่าร้อยละผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100 และเมื่อนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ พบว่าผลการสอบเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับผ่าน ด้านพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปฏิบัติงานของแพทย์ที่จบการอบรมแพทย์ฯ ในด้านการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของมหาวิทยาลัยมหิดล และการถ่ายทอดความรู้ ตามความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงานอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อนำค่าเฉลี่ยไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ผลการประเมินอยู่ในระดับผ่าน ด้านผลลัพธ์ ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มารับบริการที่มีต่อแพทย์ที่จบการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านฯ อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อนำค่าเฉลี่ยไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ผลการประเมินอยู่ในระดับผ่าน ส่วนจำนวนงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

 

Abstract

               Our research aimed to evaluate the residency training program of the department of Pediatrics, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. The evaluation was performed using  Kirkpatrick model. The model comprised the evaluation of 4 core competencies, including reaction, learning, behavior and results. The total of 274 participants, including pediatric resident and their colleagues, patients and parents as well as super visors were enrolled. Questionnaires were used for the evaluation and date were recorded in the data record form. Data were presented as mean and standard deviation, and percent.

               The results according to the 4 core competencies assessed were as follows.

                 1. Reaction evaluation: Pediatric residents evaluated the program, including curriculum, training process, instructional media, training at mosphere and faculties as very good category. The result was regarded as pass when compared with the setted criteria.

               2.  Learning evaluation: Graduated pediatric residents passed the clinical examinations (CRQ, MCQ) and the clinical skill in pediatrics (OSCE) at 100 %. The result was regarded as pass when compared with the setted criteria

               3.  Behavior evaluation: Pediatrics  residents’ supervisors and colleagues evaluated that the graduated resident  had very good practice and skill in passing on the knowledge. The result was regarded as pass when compared with the setted criteria.

               4.  Results evaluation: patients and parents’ satisfaction was graded as excellent. The result was regarded as pass when compared  with the setted criteria. However, numbers of both national and international publications were lower than the setted criteria.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ