การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบจำลองการทดลอง (Pre Experimental Designs) มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนวัดนางสาว (ถาวรราษฎร์บำรุง) อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาครภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 38 คนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนวรรณคดีไทย และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวรรณคดีไทยตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์การเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านหลังเรียน (=31.92,S.D.=5.48) สูงกว่าก่อนเรียน (=25.34, S.D.= 4.82)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎี การตอบสนองของผู้อ่านโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (= 4.36, S.D.= 0.66)
Abstract
The purpose of pre experimental designs were to 1) compare Thai literature achievement of mathayomsuksa 3 students before and after being taught by the reader-response theory 2) investigate the opinions of mathayomsuksa 3 students towards reader-response theory. The sample of this research were 38 mathayomsuksa 3/1 students of Watnangsao school, Kratumban, SamutSakhon province in the first semester of the academic year 2014.
The research instruments were lesson plans, pre-and post-achievement tests, and questionnaires on student’ opinions towards reader-response theory. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test dependent.
The results of this research were:
1. Thai literature achievement of mathayomsuksa 3 students after being taught by the reader-response theory, (=31.92,S.D.=5.48)were higher than the achievement scores before using reader-response theory (=25.34,S.D.=4.82). The scores were significantly at the 0.05 level.
2. The opinions of mathayomsuksa 3 students towards reader-response theory were highly positive (= 4.36, S.D.= 0.66)