การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้โครงงาน ระหว่างกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้แบบผสมผสาน และกลุ่มปกติ รายวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางลี่วิทยา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโครงงานกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้แบบผสมผสาน และกลุ่มปกติ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของโครงงานหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโครงงาน ระหว่างกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้แบบผสมผสาน และกลุ่มปกติ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโครงงานของกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้แบบผสมผสาน และกลุ่มปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางลี่วิทยา ที่กำลังศึกษาวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 2 กลุ่มๆ ละ 32 คนเท่ากัน จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม และการจับฉลาก ระยะเวลาในการทดลองทั้งสิ้น 8 สัปดาห์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โครงงาน ด้วยเทคนิคกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้แบบผสมผสาน รายวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้โครงงาน ด้วยเทคนิคกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้แบบปกติ รายวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) กิจกรรมการเรียนรู้โครงงานด้วยเทคนิคกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้แบบผสมผสาน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 5) แบบประเมินการทำโครงงานนักเรียน รายวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 6) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโครงงาน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น และสถิติทดสอบค่าที (t-test Dependent และ Independent)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนโครงงานกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้แบบผสมผสาน และกลุ่มปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของโครงงานหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนโครงงาน ระหว่างกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้แบบผสมผสาน และกลุ่มปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีผลสัมฤทธิ์ของโครงงานหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้แบบผสมผสาน สูงกว่านักเรียนกลุ่มปกติ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโครงงาน พบว่านักเรียนกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้แบบผสมผสานมีความพึงพอใจรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38 และนักเรียนกลุ่มปกติมีความพึงพอใจรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66
Abstract
The purposes of this research were: 1) to study the students’ pretest and posttest achievement on the Project-Based Learning (PBL) and Group Investigation (GI) with Blended Learning and Normal Group, 2) to compare the students’ posttest project achievement on the PBL between GI with Blended Learning and Normal Group, and 3) to study the students’ opinions towards the PBL GI with Blended Learning and Normal Group. The sample used in the research consisted of M.3 of Bangliwitthaya School studying the Computer Project Subject in the second semester of the academic year 2014 of 2 groups (32 people per group) by cluster and lottery sampling. The duration of the research was 8 Week.
The research instruments were: 1) lesson plans PBL on the GI with Blended Learning in Computer Project Subject of M.3, 2) lesson plans PBL on the GI Normal Group in Computer Project Subject of M.3, 3) activities PBL on GI with Blended Learning, 4) an achievement test on the Computer Project Subject of M.3, 5) a behavior observation form PBL on the Computer Project Subject of M.3, and 6) a questionnaire on students’ opinions with PBL. The collected data were analyzed by mean, standard deviation, Index of Item, difficulty index, discrimination, reliability, and t-test Dependent and Independent.
The results of the research were as follows:
1) The students’ pretest and posttest achievement on the PBL GI with Blended Learning and Normal Group was significantly different at .01 level.
2) The students’ posttest project achievement comparison on the PBL between GI with Blended Learning and Normal Group in Computer Project Subject was significantly different at .01 level. The posttest project achievement of the GI with Blended Learning was higher than the Normal Group.
3) The students’ opinions towards the PBL of the GI with Blended Learning was at the highest positive level the Mean and S.D. were 4.83 and 0.38 and the Normal Group was at the high positive level the Mean and S.D. were 4.19 and 0.66