สภาพและความต้องการแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน “ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์”

Main Article Content

น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการการใช้งานแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (Massive Open Online Course : MOOC) “ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์” ประชากรคือ นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในเขตภูมิภาคตะวันตก จำนวน 5 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม  มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่กำลังศึกษาในภาคต้น ปีการศึกษา 2557 จำนวน 475 คน โดยการเลือกแบบอาสาสมัคร เก็บข้อมูลเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2557 เครื่องมือที่ใช้การวิจัยได้แก่ แบบสำรวจสภาพและความต้องการการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิด จำนวน  1 ฉบับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

               ผลการวิจัย

               1)  ด้านสภาพการใช้งาน พบว่า นักศึกษาเคยลงทะเบียนเรียนผ่านระบบเครือข่าย จำนวน 401 คน คิดเป็นร้อยละ 84.42 นักศึกษารู้จักแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิด จำนวน 362 คน คิดเป็นร้อยละ 76.21  นักศึกษารู้จักแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดจากอาจารย์มอบหมายให้ศึกษา จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 45.4 สืบค้นด้วยตนเองและเพื่อนแนะนำ จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 35.5 และจากแหล่งอื่นๆ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 1.03 มีนักศึกษาที่เคยเข้าเยี่ยมชมรายวิชาในแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดของมหาวิทยาลัยต่างประเทศ จำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 26.45 และนักศึกษาเห็นว่าสถาบันของตนเองมีการจัดการเรียนด้วยแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิด จำนวน 323 คน คิดเป็นร้อยละ 80.35

            2)         ด้านความต้องการ พบว่า นักศึกษามีความต้องการลงทะเบียนเรียนหากสถาบันจัดให้มีการเรียนด้วยแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิด เพื่อเพิ่มพูนความรู้ จำนวน 428 คน คิดเป็นร้อยละ 90.11 และ นักศึกษาไม่ต้องการลงทะเบียนเรียนหากสถาบันจัดให้มีการเรียนด้วยแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิด เพื่อเพิ่มพูนความรู้ จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 9.89  นักศึกษาส่วนใหญ่มีความต้องการลงทะเบียนเรียนหากหน่วยงานกลางด้านการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีการเรียนด้วยแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิด เพื่อเพิ่มพูนความรู้ หรือทักษะในการปฏิบัติงาน จำนวน 404 คน คิดเป็นร้อยละ 85.05 นักศึกษาส่วนใหญ่มี

ความต้องการให้จัดทำแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนในรายวิชาหรือการพัฒนาสมรรถนะในการทำงานจำนวน 404 คน คิดเป็นร้อยละ 85.05

               นักศึกษามีความต้องการให้จัดทำแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดเป็นหลักสูตรระยะสั้นที่มีประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ที่เรียนจบหลักสูตรและสามารถนำไปใช้เทียบเคียงจำนวนหน่วยกิตกับการศึกษาในระบบปกติ จำนวน 373 คน คิดเป็นร้อยละ 80.4 และมีนักศึกษาต้องการให้จัดทำแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดเป็นหลักสูตรระยะสั้นที่มีประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ที่เรียนจบหลักสูตร จำนวน 102 คิดเป็นร้อยละ 21.47

               นักศึกษามีความต้องการแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดโดยมีความต้องการด้านกาเข้าถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.83 รองลงมา 3 อันดับแรก ได้แก่ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ด้านเสรีภาพ และด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24, 4.21 และ 4.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.80, 0.84, และ 0.80 และมีความต้องการด้านวิธีการเรียนการสอนน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.80

 

คำสำคัญ  แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้, แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชน

 

Abstract

               The purposes of this research were to study states and needs of online learning resources on Massive Open Online Course (MOOC) for Education. Populations were students in 5 universities in west area of Thailand: Silpakorn University, Nakorn Prathom Radjabhat University, Muban Chombueng Rajabhat University, Phetburi Rajabhat University, and Kanchanaburi Rajabhat University. Samples were 475 students who registered in the first semester of 2014 academic year by volunteer. Data were collected between November- December 2014. The instrument was the questionnaire of States and Needs of Online Learning Resources on MOOCs for Education. The statistics were percentage, average and standardise.

            The results were as follows: 1) States of Using online learning resources on Massive Open Online Course (MOOC) for Education found that  401 students used to register via network system (84.42%), 362 students knew online learning resources on Massive Open Online Course (76.21%), 69 students knew online learning resources on Massive Open Online Course from task who teacher suggested (45.4%), 54 and 29 students knew online learning resources on Massive Open Online Course from own search and friend’s suggested in order (35.5%, 19.1%), 105 students ever seen online foreign learning resources on Massive Open Online Course  (26.45%), 105 students ever registered in foreign online foreign learning resources on Massive Open Online Course  (26.18%) and 79 students said that their institute have online foreign learning resources on Massive Open Online Course (19.65%).

2)            Needs of Using online learning resources on Massive Open Online Course (MOOC) for Education found that 428 students would like to register if their institute provide online learning resources on Massive Open Online Course (90.11%), 404 students would like to register if the national institute provide online learning resources on Massive Open Online Course (85.05%), 404 students would like online learning resources on Massive Open Online Course as a part of their courses or to enhance working skills (85.05%), and 373 students would like the institute produce online learning resources on Massive Open Online Course as a short course that give a certificate and can transfer credit to their curriculum (80.4%).

Students would like to have online learning resources on Massive Open Online Course in accessment (    = 4.26, S.D.=0.83), in learning resources (    = 4.24, S.D. = 0.080 ), in freedom (    = 4.21, S.D.= 0.84), in knowledge sharing (   = 4.15, S.D.= 0.80 ), and in learning method(    = 4.06, S.D.= 0.80)

              

Keyword  Online Learning Resources, Massive Open Online Course, MOOC

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ