การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบสืบสอบ เพื่อเสริมสร้างความคาดหวังวิชาฟิสิกส์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

พิสิษฐ์ สุวรรณแพทย์
อนิรุทธ์ สติมั่น

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งมีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบสืบสอบฯ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบสืบสอบฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบนี้ คือ ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนารูปแบบ จำนวน 12 คน และผู้เชี่ยวชาญในการประเมินรูปแบบ 6 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 71 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบ เว็บการเรียนตามรูปแบบการเรียนฯ แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจความคาดหวังวิชาฟิสิกส์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานฯ

            ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) บทบาทผู้สอน 2) บทบาทผู้เรียน 3) เนื้อหา 4) ปัญหาสถานการณ์ 5) สภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน และ 6) การวัดและประเมินผล กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบสืบสอบ ประกอบไปด้วย 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบสืบสอบ ประกอบไปด้วย 2.1) ขั้นการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้

แบบสืบสอบออนไลน์ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) นำเสนอปัญหา 2) การแยกแยะสิ่งที่รู้แล้วและยังไม่รู้ 3) สำรวจและค้นหา 4) การอธิบาย 5) การหาคำตอบ 6) การขยายความรู้ และ 7) การประเมินผล และ 2.2) ขั้นการเรียนในห้องเรียนโดยวิธีสอนโดยใช้การบรรยายแบบดั้งเดิม และ 3) ขั้นประเมินผล ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบสืบสอบ เพื่อเสริมสร้างความคาดหวังวิชาฟิสิกส์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังวิชาฟิสิกส์หลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : การเรียนการสอนแบบผสมผสาน, การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, การเรียนรู้แบบสืบสอบ, ความคาดหวังวิชาฟิสิกส์

 

Abstract

            The purposes of this research were: (1) to develop the blended learning model using problem-based learning and inquiry-based learning to enhance physics expectation of undergraduate students; and (2) to try out the blended learning model using problem-based learning and inquiry-based learning to enhance physics expectation of undergraduate students. The subjects in the model development were twelve experts. The subjects in the model evaluation were 6 experts. The subjects in the model experiment were 71 undergraduate students. The research instruments consisted of an expert interview form, a model evaluation form, a blended learning website, and a lesson plan. The data gathering instruments consisted of a physics expectations survey, an achievement test, student’s satisfaction towards the model test questionnaire.

               The developed model consisted of six components as follows: 1) Learners; 2) Teacher; 3) Contents; 4) Problem; 5) blended learning environment; and 6) Measurement and Evaluation. The instructional process of the blended learning model using problem-based learning and inquiry-based learning were as follows: 1) Preparation and 2) the blended learning using problem-based learning and inquiry-based learning contained 2 steps as follows: 2.1) the online problem-based learning and inquiry-based learning contained seven steps as follows: 1) Problem; 2) Separation of Known Facts from Unknown Facts; 3) Exploration; 4) Explanation; 5) Solution Generation; 6) Extension; and 7) Evaluation and 2.2) traditional classroom and 3) evaluation. The results indicated that students who participated in the experimental group had learning achievement and physics expectation post-test mean scores that were higher than their pre-test mean scores at the .05 level of significance.

KEYWORDS: Blended Learning, Problem Based Learning, Inquiry-Based Learning, physics expectation

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ