ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

วัชราพร ฟองจันทร์
เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
กิตติมา พันธ์พฤกษา
รัตนาภรณ์ จินดาสวัสดิ์

Abstract

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนระยองวิทยาคม จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การทดสอบ t-test Dependent samples และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 โดยใช้การทดสอบ t-test for one sample   

               ผลการวิจัยพบว่า

               1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

2.             ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น/เทคนิคผังกราฟิก/ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิชาชีววิทยา

              

Abstract

               The objectives of this research were to study learning achievement in Biology on “Endocrine system" using inquiry learning cycle (7E) with graphic organizers technique for eleventh grade students. The sample for this research consisted of 40 eleventh grade students from Rayongwittayakom School Rayong province in the first semester of 2014. The sample was randomly selected for the experimental group using Cluster Random Sampling Method. The was measure instruments were lesson plan and Biology Learning Achievement Test. The data were analyzed by comparing the difference between pre-test and post-test mean scores of learning achievement in Biology with dependent samples t-test and comparing the difference between post-test mean scores of learning achievement in Biology and criterion of leaning achievement with one sample t-test.

               The research findings were summarized as follows:

               1.  The post-test mean scores of Biology learning achievement of eleventh grade students after using inquiry learning cycle (7E) with graphic organizers technique were higher than pre-test mean scores of that at the statistically significant .05 level

               2.  The post-test mean scores of Biology learning achievement of eleventh grade students after using inquiry learning cycle (7E) with graphic organizers technique were higher than 75 percent criterion at the statistically significant .05 level

 

Keyword inquiry learning cycle (7E)/graphic organizers technique/learning achievement in Biology

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ