บทบาทสตรีในการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในชุมชนวัดสะพาน อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

Main Article Content

อุษณีย์ สุวรรณ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาระดับบทบาทสตรีกับการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในชุมชนวัดสะพาน อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท 2) เปรียบเทียบบทบาทสตรีกับการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในชุมชนวัดสะพาน อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล 3) ศึกษาระดับของปัจจัยสนับสนุนของสตรี ในชุมชนวัดสะพาน อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท และ4) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาบทบาทสตรีตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนวัดสะพาน อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ การศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนในชุมชนวัดสะพาน อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการศึกษาในเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ด้วยการเลือกแบบเจาะจง คือสตรีในชุมชนวัดสะพาน จำนวน 20 คน ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 คน พัฒนากรอำเภอ จำนวน 1 คน กลุ่มแกนนำชุมชน จำนวน 5 คน และปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 1 คน รวม 28 คน

ผลการวิจัยพบว่า

               1ระดับบทบาทสตรีในการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในชุมชนวัดสะพาน อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท ในภาพรวม มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านวัฒนธรรม รองลงมาคือ ด้านเศรษฐกิจ และด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านสังคม

               2.  การเปรียบเทียบบทบาทสตรีกับการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในชุมชนวัดสะพาน อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทสตรีกับการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสถานภาพการสมรสและระยะเวลาที่อาศัยอยู่ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 

             

3.             ระดับของปัจจัยสนับสนุนของสตรีในชุมชนวัดสะพาน อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านการรับรู้ พบว่า การรับรู้ของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านสื่อต่างๆ นั้นมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2) ด้านความตระหนักของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ความตระหนักของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ  4) ด้านการปฏิบัติตัวของผู้นำที่มีผลต่อการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าการปฏิบัติตัวของผู้นำที่มีผลต่อการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

               4แนวทางในการพัฒนาบทบาทสตรีตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนวัดสะพาน อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท ได้แก่ 1) ภาครัฐ ควรให้ความสำคัญกับความต่อเนื่องของการจัดทำโครงการต่างๆ โดยการลงพื้นที่เข้าไปติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการของประชาชน เพื่อจะให้ให้ความช่วยเหลือได้ตรงประเด็น และควรเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริม สนับสนุน ด้านความรู้ การฝึกอบรม เงินทุน ให้มากยิ่งขึ้น 2) ผู้นำชุมชน ควรหาช่องทางในการส่งเสริมด้านเงินทุนต่างๆ ให้กับประชาชนในชุมชน เช่น การติดต่อขอทราบข้อมูลการให้ความช่วยเหลือต่างๆ จากองค์กรภาครัฐ เพื่อให้ชาวบ้านเข้าถึงแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และควรนำปัญหาและความต้องการของชุมชนเข้าที่ประชุมในระดับอำเภอ หรือระดับจังหวัด เพื่อขอคำปรึกษาและขอความสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ 3) ประชาชนในชุมชน ควรรักษามาตรฐานและขยายเครือข่ายการดำเนินการในลักษณะของชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการขยายความรู้ ปลูกจิตสำนึกให้แก่ประชาชนที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการให้หันมาดูแลครอบครัว ดูแลเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น

 

คำสำคัญ :  บทบาทสตรี/ การพัฒนาชุมชน/ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง/ชุมชนวัดสะพาน/อำเภอเมือง/จังหวัดชัยนาท

 

Abstract

            This research aimed to 1) study on levels of the roles of women in the context of development in accordance with the philosophy of sufficiency economy in Wat Sapan Community, Muang District, Chainat Province, 2) compare roles of women among each classification of personal characteristic, in the context of development in accordance with the philosophy of sufficiency economy in Wat Sapan Community, Muang District, Chainat Province, 3) study on levels of supporting elements for women in Wat Sapan Community, Muang District, Chainat Province and 4) study on methods of developing the roles of women in accordance with the philosophy of sufficiency economy in Wat Sapan Community, Muang District, Chainat Province.

The studies were conducted by both quantitative and qualitative means. Under the quantitative means, samples used for the research are members of Wat Sapan Community, Muang District, Chainat Province (175 people); questionnaire is a research tool used; data analysis measurements are frequent allocation, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. Under the qualitative means, the research was conducted by way of and analysis on documents and in-depth interviews with 28 key interviewees (i.e. 20 women in Wat Sapan Community, one village headman, one community development administrative officer, five community leaders, and one local scholar); the selection method used is specific selection method.

               The followings are the results of the research:

               1)  The levels of the women’s roles in community development in accordance with the philosophy of sufficiency economy of Wat Sapan Community, Muang District, Chainat Province, in a general view, was at high level. Cultural aspect ranks No I with the highest average scow, followed by economic aspect. The aspect with the lowest average score was social aspect.

               2)  The comparison of women’s roles among each classification of personal characteristic, in the context of development in accordance with the philosophy of sufficiency economy in Wat Sapan Community, Muang District, Chainat Province, it shows that people having differences in age, educational level, occupation and income are significantly of different opinions towards roles of women in the context of development in accordance with the philosophy of sufficiency economy. This difference was at statistically significant level of 0.05. However, marriage status and length of time on living do not affect the difference in opinions.

               3)  Levels of supporting elements for women in Wat Sapan Community, Muang District, Chainat Province in the context of community development in accordance with the philosophy of sufficiency economy were classified into four aspects as followed. 1) People’s recognition has an average score at medium level. 2) Awareness of people has an average score at high level. 3) People’s participation has an average score at high level. 4) Practice of leaders affecting community development has an average score at the high level.

            4)         Regarding ways of developing roles of women in Wat Sapan Community in accordance with the philosophy of sufficiency economy, it was found that 1) government sector should pay attentien to continuity of projects and increase its participation in promoting and supporting with regard to knowledge, training, and financial supports. 2) Community leaders should seek available information and provide then to the people in the community, for example, contacting government agencies to obtain information on available supports. 3) People in the community should maintain standards and expand the networks on operation of 

sufficiency economy community and apply the philosophy of sufficiency economy in their everyday lives.

Keywords : The development / Women’s Role/ Sufficiency Economic Philosophy/ Wat Sapan Community/ Meuang District/ Chainat Province.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ