แนวทางการจัดการศึกษาเรียนร่วมพหุวัฒนธรรม:กรณีศึกษาชุมชนบ้านป่าละอู อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษากระบวนการและเงื่อนไขในความสำเร็จในการจัดการศึกษาเรียนร่วมพหุวัฒนธรรม 2)เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาเรียนร่วมพหุวัฒนธรรมของชุมชนป่าละอู อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ครู นักเรียน ผู้นำท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ชาวบ้าน คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 42 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลภาคสนาม การสังเกตและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีฐานราก
ผลการวิจัยพบว่า (1) กระบวนการและเงื่อนไขในความสำเร็จในการจัดการศึกษาแบ่งออกได้เป็น กระบวนการความสำเร็จในการจัดการศึกษา สืบเนื่องมาจาก 1)สภาพแวดล้อมในชุมชน เป็นชุมชนที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 2) ระบบการจัดการศึกษาเป็นไปด้วยความเสมอภาค ใช้หลักสูตรบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนสอดแทรกอาชีพภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีกิจกรรมเสริมหลักสูตรในการจัดการศึกษา 3) วัฒนธรรมชุมชน ร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมของชุมชนรวมทั้งถ่ายทอดให้กับเยาวชน 4) เศรษฐกิจชุมชน เกิดการหมุนเวียนรายได้ในชุมชน เงื่อนไขภายใน ประกอบด้วย 1) ความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม 2) การเรียนรู้ในสถานศึกษา,ชุมชน มีการสอดแทรกวัฒนธรรม อาชีพ ในการจัดการเรียนการสอน และ เงื่อนไขภายนอก ประกอบด้วย 1)สภาพการณ์ ชุมชนดำรงอยู่กับธรรมชาติมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 2)ผู้นำท้องถิ่น เป็นนักพัฒนา 3)ทุนชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและทุนทางการเงินในการร่วมพัฒนาโรงเรียน 4)การมีส่วนร่วม ทั้งโรงเรียนและชุมชนมีส่วนช่วยในการพัฒนาชุมชน 5)การจัดการศึกษา มีการยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมของคนในชุมชนและมีการพัฒนาการเรียนการสอนอยู่เสมอ (2) แนวทางการจัดการศึกษาเรียนร่วมพหุวัฒนธรรมของชุมชนป่าละอู ประกอบด้วย 1)จัดทำหลักสูตรท้องถิ่น มีการบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่นเข้าสู่ระบบการศึกษา มีการปรับเปลี่ยนผสานรูปแบบของการเรียนรู้ 2)กิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อปลูกฝังคุณธรรมและวินัย 3)บรรยากาศภายในโรงเรียน มีความเสมอภาค ยุติธรรม เป็นประชาธิปไตย 4)การสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน ควรมีการเข้าเยี่ยมเยียนชุมชน เพื่อการช่วยเหลือกิจกรรมของชุมชน 5)การเสริมสร้างลักษณะพหุวัฒนธรรม เพื่อให้ชุมชนเกิดความเสมอภาคมากยิ่งขึ้น และ6)ปลูกฝังสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อการพัฒนาชุมชน
Abstract
This research used qualitative research methods purposes. 1) to study the processes and conditions for success in multicultural education classes. 2) to study the management of multicultural education classes in BAN PA-LA-U Community, Huahin District, Prachaubkirikhan Province. The key informants including teacher, student , local leaders, scholars, village, education committee and parents sum 42 peoples. Using purposively selected. The instruments include The in-depth interviews. Data Collection The researcher used the related documentation. I collect field data Observation, and In-depth Interview The data were analyzed using the grounded theory.
(1) Procedures and conditions for success in education is divided into. The success of education sequel. 1) environment in the Community As a community to help each person living with nature as a farming community. 2) The system of education is to go with equality. The curriculum integration in the teaching profession, local knowledge, including the insertion of extra-curricular activities in education. 3) Community Culture People in the community interact with each other and shared culture of the community and convey to young 4) economic community. The current income in the community conditions 1) a multi-cultural diversity, race, religion, language, culture, 2) learning in schools, communities. The Core Curriculum for Basic Education 2551 and the Cultural depictions career in teaching. External conditions: 1) the projected Existence and nature of community and support one another. 2) local leaders as developers 3) capital grants and local communities to finance the development of the school. 4) Participation The entire school community and contributes to the development community. 5) Education Management The cultural diversity of the community and the development of teaching time. (2) Guidelines for the management of community education classes multicultural in BAN PA-LA-U Community, Huahin District, Prachaubkirikhan Province .Can be divided into six main areas: 1) The local curriculum. Are integrated into the education curriculum. Combining the modified form of learning from a lecture just to demo and practicality. And the development of learning materials are fixed media and electronic media. 2) Activities Should be extra-curriculum activities that instillmorals and discipline to students. 3) School Grounds Should be an atmosphere of equality Justice and democracy 4) Creating a better interaction in the community. Visit the communities should be To support community activities Community Learning Students and plan to help students 5) enhancing multicultural nature. In order to generate more equality. 6) Cultivate and Get What You Want. In order to build the power of young people in community development.