มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การค้าประเวณีเป็นอาชีพที่ผิดกฎหมายแต่ยังคงมีอยู่ในสังคมไทยแอบแฝงขายบริการตามแหล่งท่องเที่ยว ถนน หรือตามที่สาธารณะ ปะปนร่วมกับผู้คนในสังคม เมื่อสังคมเจริญเติบโตขึ้น การค้าประเวณีถือเป็นอาชีพที่หารายได้เป็นจำนวนมากอีกทั้งไม่ต้องมีเงินทุนแต่อย่างใด ถึงจะผิดกฎหมายแต่คุ้มค่ากับความเสี่ยงในการกระทำความผิดซึ่งมีบทลงโทษทางอาญาที่น้อย ซึ่งนับว่ากฎหมายที่มีอยู่มิอาจจะทำให้เกิดความเกรงกลัวต่อการกระทำความผิดได้กฎหมายที่ระบุความผิดของผู้ค้าประเวณีแบบสมัครใจ มีเจตนาที่จะคุ้มครอง มีระวางโทษน้อย และมุ่งช่วยเหลือผู้ค้าประเวณีแต่ไม่อาจปราบปรามป้องกันหรือยับยั้งต่อจำนวนผู้ค้าประเวณีที่สมัครใจค้าประเวณีได้ทำให้กฎหมายในเรื่องนี้ใช้บังคับไม่ได้ผลและก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของประชาชนในสังคมและยิ่งความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุเพิ่มมากขึ้นเท่าไรส่งผลให้ปัญหาที่มีสะสมกลายเป็นอาชญากรรมทางเพศที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
ผู้ศึกษาได้เสนอแนะแนวทางการกำหนดความผิดทางอาญาแก่ผู้ค้าประเวณี โดยเห็นสมควรปรับปรุงบทบัญญัติมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ควรกำหนดโทษความผิดทางอาญาต่อผู้ค้าประเวณีแบบสมัครใจที่มีผลต่อความสงบหรือเรียบร้อยในสังคมตลอดจนเห็นสมควรเพิ่มเติมฐานความผิดทางอาญาแก่ผู้ค้าประเวณีแบบสมัครใจทีกระทำความผิดซ้ำทั้งนี้เพื่อครอบคลุมวิธีการที่ใช้ในการกระทำความผิดมากขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงนโยบายเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาในส่วนผู้ค้าประเวณีให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นด้วยการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในแนวความคิดการประกอบอาชีพการกำหนดความรับผิดทางอาญาต่อผู้ค้าประเวณีแบบสมัครใจ(เตร็ดเตร่)และมาตรการการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาแนวคิดทฤษฏีและหลักเกณฑ์ของความผิดในพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 5
2. เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ซึ่งนำมาใช้กับความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณี
3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายการค้าประเวณีของประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันที่กำหนดอัตราการลงโทษต่อผู้ค้าประเวณี
4. เพื่อศึกษาถึงแนวทางการแก้ไขกฎหมายปรับปรุงอัตราโทษให้เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้ค้าประเวณีและต้องสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน
5. เพื่อเสนอแนะแนวทางหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีหาผลบังคับใช้กฎหมายได้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุดในทางปฏิบัติเพิ่มเติมฐานความผิดทางอาญาแก่ผู้ค้าประเวณีแบบสมัครใจทีกระทำความผิดซ้ำ ทั้งนี้เพื่อครอบคลุมวิธีการที่ใช้ในการกระทำความผิดมากขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงนโยบายเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาในส่วนผู้ค้าประเวณีให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นด้วย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในแนวความคิด การประกอบอาชีพ การกำหนดความรับผิดทางอาญาต่อผู้ค้าประเวณีแบบสมัครใจ(เตร็ดเตร่)และมาตรการการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
คำสำคัญ: มาตรการทางกฎหมาย/ การป้องกันและปราบปราม/ การค้าประเวณี
Abstract
Prostitution is illegal but still exists in Thai society in which it can appear in people’s daily lives even in public places such as touristic areas and streets. Along with the society development, Prostitution has become one of the jobs earning a lot of incomes since there is no investment required at all. Hence, even though it is illegal but really worth comparing to small penalties, especially, for prostitutes who are willing to do so. From such small penalties, it reflects the ineffectiveness of laws that can only help those willing prostitutes but cannot eliminate, protect, or restrain them. This ineffectiveness also lead to conflicts among people in a society. Moreover, it will be worse when there is an increasing in materialism that can eventually result in more and more severe sexual crimes.
Finally, The researcher would like to make some suggestion about the issue discussed above, the amendments of the provisions in section 5 of the Prevention and Suppression of Prostitution Act (B.E. 2539) to set criminal penalties to prostitutes with willingness which affected to society and increase the criminal penalties to prostitutes with willingness who repeatedly do a mistake. Moreover, improve the policy of defensive and solve on prostitution’s problem to be more suitable. This research is to study and understand prostitution, penalties to prostitutes with willingness, and defensive measures on prostitution.
KEYWORDS: LEGAL MEASURES / AGAINST PROSTITUTION