รูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาด้านการโค้ชเพื่อการรู้คิด

Main Article Content

มารุต พัฒผล

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาด้านการโค้ชเพื่อการรู้คิด และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาด้านการโค้ชเพื่อการรู้คิด กลุ่มตัวอย่างเป็นครูประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสุพรรณบุรี ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การยกร่างรูปแบบ ตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้น และทดลองนำร่อง ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 53 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 31 คน และกลุ่มควบคุม 22 คน ที่เลือกมาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ เรื่อง การโค้ชเพื่อการรู้คิด ชนิดเลือกตอบ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 2) แบบประเมินความสามารถในการโค้ชเพื่อการรู้คิด ชนิดเกณฑ์การให้คะแนน 4 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 3) แบบทดสอบวัดทักษะการรู้คิดของผู้เรียน ชนิดเลือกตอบ               มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

               1.  ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาด้านการโค้ชเพื่อการรู้คิดมีองค์ประกอบได้แก่1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาสาระ 4) ขั้นตอน (ขั้นที่ 1 สร้างแรงบันดาลใจ ขั้นที่ 2 ขยายการเรียนรู้ขั้นที่ 3 นำสู่ปฏิบัติ ขั้นที่ 4 จัดให้แลกเปลี่ยน ขั้นที่ 5 เรียนรู้และพัฒนา) 5) การประเมินผล และ 6) ปัจจัยสนับสนุน

               2.  ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาด้านการโค้ชเพื่อการรู้คิด พบว่า มีประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่กำหนด 4 ประการดังนี้

                    2.1   ค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการความรู้ความเข้าใจเรื่องการโค้ชเพื่อการรู้คิด และค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการความสามารถในการโค้ชเพื่อการรู้คิดของครูกลุ่มทดลองสูงกว่าครูกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01                

                    2.2   ครูกลุ่มทดลองที่ได้รับการพัฒนาโดยใช้รูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาด้านการโค้ชเพื่อการรู้คิด มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการโค้ชเพื่อการรู้คิด และมีความสามารถในการโค้ชเพื่อการรู้คิด หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                    2.3   ผู้เรียนที่เรียนกับครูกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการทักษะการรู้คิด สูงกว่าผู้เรียนที่เรียนกับครูกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                    2.4   ผู้เรียนที่เรียนกับครูกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการรู้คิด หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ   การโค้ชเพื่อการรู้คิด , การพัฒนาครู

Abstract

               The objectives of this research were to 1) developed a primary education teacher development model for cognitive coaching and 2) study the effectiveness of a primary education teacher development model for cognitive coaching ability. There are 53 teachers in Suphanburi province were the target group of implementing the model. This research were 4 stages, 1) study based – line data 2) drafting a primary education teacher development model for cognitive coaching ability 3) implementing a model with 31 teachers in experimental group and 22 teachers in control group and  4) evaluating the effectiveness of a model. The instruments were 1) Knowledge and comprehension test in cognitive coaching, reliability was 0.93 2) Scoring rubrics for cognitive coaching ability, reliability was 0.92 and 3) cognitive skill test for students, reliability was 0.94 The results of this research were as follows

               1.  A primary education teacher development model for cognitive coaching composed of 1) principle 2) objectives 3) contents 4) steps of development; there were           5 steps, the first was inspiration, the second was enlarge learning, the third was to practice, the forth was sharing experiences and the fifth was continuous learning and improving 5) evaluation and 6) supporting factors.

               2.  A primary education teacher development model for cognitive coaching was effectiveness according to the 4 criteria, there were

                    2.1   Mean score progress of knowledge and ability in cognitive coaching  of teachers in experimental group was higher than control group statistically significant at the .01 level.

                    2.2   Teachers in the experimental group were higher ability in cognitive coaching after using the model statistically significant at the.01 levels.

                    2.3   Students in experimental group were have progress in cognitive skills higher than control group statistically significant at the .01 level.

                    2.4   Students in experimental group were have  cognitive skills higher than before using the model statistically significant at the .01 level.

               3.  An evaluation the model by experts found that the model have useful and valuable for primary teachers development in very high level.

Key words  Cognitive  Coaching,  Teachers  Development

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ