การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ท (START) และแผนภูมิความหมาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดไทร (สินศึกษาลัย)
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ทและแผนภูมิความหมาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดไทร (สินศึกษาลัย) (2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียน วัดไทร (สินศึกษาลัย) โดยการสุ่มห้องเรียน ได้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน โดยใช้เวลาในการทดลองเป็นเวลา 5 สัปดาห์ จำนวน 20 คาบเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ทและแผนภูมิความหมาย พร้อมแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 8 บท 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังการทดลอง 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ทและแผนภูมิความหมาย สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ทและแผนภูมิความหมายมีค่าเท่ากับ 76.46/75.75 2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังจากการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ทและแผนภูมิความหมายสูงกว่าก่อนการใช้แบบฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักเรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ทและแผนภูมิความหมายที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
คำสำคัญ : การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน กลวิธีสตาร์ท แผนภูมิความหมาย
Abstract
The purposes of this experimental research were to: 1) construct and test the efficiency of reading comprehension exercises by using START strategy and semantic map for the fourth grade students of Wat Sai School (Sinseuksalai), 2) compare students’ English reading ability before and after using the supplementary reading exercises, and 3) study students’ opinions toward the exercises.
The sample consisted of one randomly selected class of 30 fourth grade students of Wat Sai School (Sinseuksalai) during the first semester of the academic year 2014. The duration of the experiment was twenty class sessions over a five - week period. The instruments used for gathering data were 1) the eight reading comprehension exercises by using START strategy and semantic map and lesson plans, 2) a reading proficiency test, used as a pretest and posttest, and 3) a questionnaire on opinions toward the reading comprehension exercises. The data were analyzed by mean, standard deviation and statistical means of t-test.
The results of the study were:
1) The efficiency of the supplementary reading comprehension exercises by using START strategy and semantic map was 76.46/75.75 percent. This means that the efficiency was at the high level.
2) The students’ English reading ability after using the supplementary reading comprehension exercises by using START strategy and semantic map was significantly higher than the ability before using the exercises at the 0.05 level.
3) The students’ opinions toward the supplementary reading comprehension exercises by using START strategy and semantic map were highly positive.
KeyWord (s) : development of supplementary reading exercises, STARTstrategy, semantic map