ภาพจิตรกรรมในกรอบกระจกที่พบภายในพระอุโบสถและพระวิหารในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปพนพัชร์ สุขเจริญศิริชัย

Abstract

บทคัดย่อ

               การศึกษาในครั้งนี้ มีจุดประสงค์หลักคือการบันทึกข้อมูลสภาพปัจจุบันและการวิเคราะห์เปรียบเทียบหาองค์ความรู้เกี่ยวกับภาพจิตรกรรมในกรอบกระจก สำหรับนำมาพิจารณาเสนอแนวทางในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมประเภทนี้ได้อย่างเหมาะสม

               สิ่งที่ได้รับจากการศึกษาในครั้งนี้ ประกอบด้วย

                    1.  บัญชีรายชื่อและข้อมูลของแหล่งศิลปกรรมที่พบภาพจิตรกรรมในกรอบกระจกหรือพบร่องรอยการติดตั้งทั้งหมดในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 25 แห่ง

                    2.  ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ พบว่าภาพจิตรกรรมในกรอบกระจกสามารถแบ่งตามประเภทวัสดุและเทคนิคการเขียนได้ 3 แบบ คือ กระจกเงา, ภาพจิตรกรรมเขียนสีน้ำมันบนหลังกระจก และภาพจิตรกรรมเขียนสีฝุ่นบนกระดาษ  โดยมีเนื้อหาของภาพที่สัมพันธ์กับเทคนิคการเขียนดังกล่าว

                    เกี่ยวกับคติการสร้างในแต่ละสมัย พบว่าคงเริ่มจากการนำเข้าจากประเทศจีน ในช่วงปลายรัชกาลที่ 2 ต่อเนื่องจนถึงช่วงต้นรัชกาลที่ 4 ด้วยว่าเป็นของสวยงามและหายาก เพื่อใช้ในการประดับ  ศาสนสถานถวายเป็นพุทธบูชา ก่อนจะปรับเปลี่ยนคติแนวคิดกลับมาเป็นภาพวรรณกรรมศาสนาในระยะต่อมา และคลี่คลายหลากหลายมากขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากนั้นคือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ลงมาจึงเป็นการสร้างขึ้นใหม่ตามอย่างรูปแบบของเดิมที่เคยปรากฏมาก่อน กระทั่งในระยะร่วมสมัยปัจจุบัน พบว่าพระอารามบางแห่งนำมาใช้เล่าเรื่องทดแทนภาพจิตรกรรมฝาผนัง

3.             ผลการประเมินคุณค่าและการประเมินผลกระทบ พบว่าภาพจิตรกรรมในกรอบกระจกดังกล่าว เป็นทรัพยากรวัฒนธรรมที่จับต้องได้แบบเคลื่อนที่ได้ และเป็นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุควบคู่กันมีคุณลักษณะที่เปราะบาง หาได้ยาก เสี่ยงต่อการสูญหายหรือหมดไป เนื่องจากไม่สามารถทำขึ้นใหม่ทดแทนให้เหมือนเดิมได้ โดยส่วนใหญ่มีคุณค่าด้านสัญลักษณ์หรือนัยยะแห่งอดีตอย่างสูง และบางแหล่งศิลปกรรมยังมีความโดดเด่นในด้านวิชาการและสุนทรียะอีกด้วย

                    4.  การเสนอแนวทางการจัดการ พบว่าควรมุ่งเน้นไปยังการดูแลรักษาและการอนุรักษ์ให้คงสภาพดั่งเดิม ตามลำดับความจำเป็นและความเร่งด่วน รวมทั้งการจัดการข้อมูลเพื่อเผยแพร่ความรู้ โดยการประสานการทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ วัด กรมศิลปากร สถาบันการศึกษา บริษัทห้างร้านผู้รับเหมา ภาคเอกชนและภาคประชาชน ตามบทบาทหน้าที่ให้เหมาะสม

 

คำสำคัญ : ภาพจิตรกรรมในกรอบกระจก, กระจก กระจัง

 

Abstract

               The main objective of this study is the present-time documentation and comparing analysis of the painting in frames as to consider the method in the cultural resource management properly.

               Benefits of this study are

                    1.To know about the resource inventories and the information of artistic works sites where not only the painting in frame but also all 25 places installed feature marks were found in Bangkok area.

                    2.The results of comparing analysis shows that the painting in frame could divided by materials and techniques in 3 types which are mirrors, oil-painting on mirrors and tempera painting on papers , the story of the painting is connected to the techniques.

                    The concept of the painting in frame estimating begin at the age in the late  of King Rama II reign when it were imported from China until the early King Rama IV reign to decorate in temples offerings to the Buddhism. Later, the concept had changed to religious literature paintings and became varieties in the King Rama V reign then it took after the style of the originals which are found before and in contemporary period showed the replacement of the painting in frame over mural painting.

                        3.          Assessing significance and Cultural resource impact assessment showed that are tangible cultural resource, artifact and art objects along together. They were not only the rare attribution, fragile but also irreversible therefore it was nonrenewable. Generally they were devalue in economics nevertheless they were not only priceless in associative and symbolic 

value but also in some site of artistic works were outstanding in informational and aesthetic value.

                    4.  Approaching the management method showed that they had better not only preserve or conserve the artistic works but also distribute to public education by integrate between the departments such as the religious places, the Fine Arts Department, the educational institutions, the contractors covering the private sectors and public sectors to perform their is duties properly.

Keyword : Painting in frame  

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ