การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม

Main Article Content

ปาริฉัตร วรวงษ์
สมหญิง เจริญจิตรกรรม

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์  1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ      3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2557  โรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม  1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)

               เครื่องมือที่ใช้  ได้แก่  1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  2)บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน         เรื่อง  ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ

ผลการวิจัยพบว่า  1) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.56/81.89  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์         2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ที่เรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆอยู่ในระดับมาก ( = 4.36 , S.D. = 0.59)

 

Abstract

            The purpose of the research were to:  1) Develop  Computer Assisted Instruction on “Topographies  of  the  Region”  for  Prathomsuksa 5 students  2) Compare the learning achievement of  Prathomsuksa 5 students before and after learning with Computer Assisted Instruction on “Topographies  of  the  Region”  3) And study satisfaction of Prathomsuksa 5 students towards Computer Assisted Instruction on “Topographies  of  the  Region”.  The research sample consisted of 30 students with simple random sampling of Prathomsuksa 5 in Banplongliam School during 2rdsemester academic year 2014. The instruments used for gathering data were : 1) structured interview form,  2) Computer Assisted Instruction on “Topographies  of  the  Region”  for  Prathomsuksa 5 students,    3) a learning achievement test on “Topographies  of  the  Region”  for Prathomsuksa 5 students, 4) and a questionnaire on students’ satisfaction towards the Computer Assisted Instruction. The data were analyzed using mean, standard deviation, and T-Test for Dependent Samples.

            The findings were :

            1) The efficiency of Computer Assisted Instruction  “Topographies  of  the  Region”  for  Prathomsuksa 5 students  is 80.56/81.89            

            2)  The achievements of the Prathomsuksa 5 students after studying with Computer Assisted Instruction are statistically higher than the achievements before studying with Computer Assisted Instruction on “Topographies  of  the  Region”   at the 0.01 level.

            3)  The Students’ satisfaction with the Computer Assisted Instruction on “Topographies  of  the  Region”   was at High level ( = 4.36 , S.D. = 0.59)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ