การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ด้วยวิธีซินเนคติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ปิยะพงษ์ ทรงประวัติ

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ด้วยวิธีซินเนคติกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4   2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ด้วยวิธีซินเนคติกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ด้วยวิธีซินเนคติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4   4) เพื่อประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ด้วยวิธีซินเนคติกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาด สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เกี่ยวกับ เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ทัศนศิลป์ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีซินเนคติกส์นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ก่อนเรียนและหลังเรียน, การศึกษาความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีซินเนคติกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาด

               กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรมสำนักงานเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 เป็นเวลา 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ด้วยวิธีซินเนคติกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาด, แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้, แบบประเมินความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาด, และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ด้วยวิธีซินเนคติกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%),  ค่าเฉลี่ย    (), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test แบบ Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า 

1.             ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องการให้มีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ด้วยวิธีซินเนคติกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดโดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนเกิดการเปรียบเทียบ สมมุติตนเป็นสิ่งอื่น เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนมีความสุขเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้การวัดและประเมินผลให้ครบทุกด้าน พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย เน้นการประเมินโดยให้ครูเป็นผู้ประเมินและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหน้าชั้นเรียน ชื่นชมยินดีผลงานศิลปะ

               2.  ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ พบว่ากิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ด้วยวิธีซินเนคติกส์ มีค่าความสอดคล้องเท่ากับ 0.60-1.00 ประกอบด้วยเนื้อหา 1) รูปร่างอิสระ  2) รูปร่างเรขาคณิต 3) รูปทรง   4)  วรรณะสีร้อน และ 5) วรรณะสีเย็น สำหรับองค์ประกอบของกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ด้วยวิธีซินเนคติกส์  มีดังนี้ คือ ชื่อกิจกรรม มาตรฐานตัวชี้วัด เนื้อหากิจกรรม และสื่อ/อุปกรณ์การประเมินผลกิจกรรม แต่ละกิจกรรมแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 การให้ข้อมูลของสถานการณ์ ขั้นที่ 2 การเปรียบเทียบจากประสบการณ์ตรง ขั้นที่ 3 การสมมุติตนเป็นสิ่งอื่น ขั้นที่ 4 การสร้างภาพขัดแย้ง ขั้นที่ 5 การเปรียบเทียบขัดแย้งแบบมีเหตุผล ขั้นที่ 6 การสร้างสรรค์จากการเรียนรู้

               3.  ผลการทดลองกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ภาพรวมของกิจกรรม อยู่ในระดับดีคิดเป็นร้อยละ  61.42 นักเรียนมีความตั้งใจในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างเต็มที่และมีส่วนร่วมในการวางแผนปฏิบัติกิจกรรมเข้าใจการให้ข้อมูลของสถานการณ์ สามารถที่จะเปรียบเทียบจากประสบการณ์ตรงสมมุติตนเป็นสิ่งอื่นได้ตามจินตนาการสร้างภาพขัดแย้งให้เกิดการแปลกใหม่ได้และเปรียบเทียบขัดแย้งแบบมีเหตุผลได้ชัดเจนสร้างสรรค์จากการเรียนรู้ที่ดี มีการสอบถามเมื่อมีข้อสงสัย ทำงานเสร็จตามเวลาที่กำหนด สามารถวาดภาพให้เกิดความแปลกใหม่ได้ใช้สีอย่างสร้างสรรค์ นักเรียนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการเรียนรู้

               4.  ผลการประเมินและปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ พบว่า 1) นักเรียนมีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) นักเรียนมีความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดอยู่ในระดับดีมาก 3) นักเรียนมีความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์อยู่ในระดับมากนักเรียนมีความสนุกในการเรียนวิชาทัศนศิลป์ เข้าใจขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ช่วยเกิดแนวคิดและมุมมองที่หลากหลาย นักเรียนแสดงออกด้านการวาดภาพได้อย่างอิสระกระบวนการเปรียบเทียบเกิดขึ้นระหว่างเรียนศิลปะเป็นสิ่งที่แปลกใหม่น่าสนใจมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้อากาศปลอดโปร่ง สามารถสร้างสรรค์ภาพวาดได้

 

คำสำคัญ : การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้/ทัศนศิลป์/สร้างสรรค์ภาพวาด

            The purpose of this research is 1) To study principle information in development of Art’s Learning Activities by Synectics Model for Support Ability in Create Drawing of Fourth Grade Students 2) To develop art’s learning activities by synectics model  for support ability in create drawing of fourth grade students 3) Try to implement the art’s learning activities by synectics model for support ability in create drawing of fourth grade students  4) To evaluate art’s learning activities by synectics model for support ability in create drawing of the fourth 

grade students  regarding evaluation of learning experiences. This is done by create learning activities by synectics model before and after learning classes as well as study the ability to create drawing of the fourth grade students. Moreover, it also helps to understand the opinions of students to synectics learning method for support in create drawing of fourth grade students.

            The sample of this research is fourth grade students at TangPhiroonTham School, Thavee wattana district, Bangkok for the total of 30 students in semester 1 academic year 2014 for the total of 12 hours. Research instruments consist of Lessan Plan unit art’s learning activities by synectics model for support ability to create drawing to evaluate the learning result, the evaluation form for create drawing and questionnaire form of fourth grade students regarding the art’s learning activities by synectics model to support the ability to create drawing. The data analysis uses percentage (%), mean (), standard deviation (S.D.), t-test dependent and Content Analysis.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ