การศึกษาผลการเรียนรู้และทักษะการคิดขั้นสูงเรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปา

Main Article Content

วิลาวรรณ์ ปั้นหุ่น

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปา 2) ศึกษาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปา และ 3)ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 35 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดขั้นสูง และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)         ค่าร้อยละ (%) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent)

               ผลการวิจัย พบว่า

               1.  ผลการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

               2.  ทักษะการคิดขั้นสูง เรื่องเศรษฐศาสตร์น่ารู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 75.20 อยู่ในระดับดี  

3.             ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปา เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ พบว่านักเรียนมีความคิดเห็นโดยภาพรวม อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

       

Abstract

            The purposes of this research were to 1) compare learning outcomes before and after studying on interest economics taught by CIPPA model of Matthayomsuksa 5 students. 2) study higher order thinking skills after studying on interest economics taught by CIPPA model of Matthayomsuksa 5 students. 3) study the opinions of Matthayomsuksa 5 students relating to CIPPA model. The sample consisted of 35 Matthayomsuksa 5 students from Sai Yok Maneekarn Wittaya School second semester, academic year 2014, and using simple random sampling technique with a classroom unit.

               The research instruments used were 1) lesson plans of interest economics 2) a learning outcomes test 3) a learning outcomes test of higher order thinking skills 4) a questionnaire for the opinions of students toward taught by CIPPA model. The data was analyzed by means () standard deviation (S.D.), average (%) and t-test dependent.

               The results of the study were:

               1)  The learning outcome on interest economics of Mattayomsuksa 5 students after taught was higher than the scores before taught by CIPPA model wits the statistical significance at the level of .05.

               2)  The average of the higher order thinking skills on interest economics of Matthayomsuksa 5 students from  CIPPA  model was 75.20, which is a good criterion.

               3)  The opinions of Matthayomsuksa 5 students toward CIPPA model on interest economics was at the high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ