การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้สาระท้องถิ่นร่วมกับแผนที่ความคิด

Main Article Content

ศริญดา เทียมหมอก

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้สาระท้องถิ่นร่วมกับแผนที่ความคิด ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้สาระท้องถิ่นร่วมกับแผนที่ความคิด ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้สาระท้องถิ่นร่วมกับแผนที่ความคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านป่าถล่ม  อำเภอกุยบุรี  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 35 คน เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบกลุ่มเดียวสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้สาระท้องถิ่นร่วมกับแผนที่ความคิด แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้สาระท้องถิ่นร่วมกับแผนที่ความคิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที t-test แบบ Dependent

               ผลการวิจัยพบว่า

               1.  แบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้สาระท้องถิ่นร่วมกับแผนที่ความคิด มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.05/81.33 

2.             ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษา                       ปีที่ 3 ด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้สาระท้องถิ่นร่วมกับแผนที่ความคิด หลังการจัดการเรียนรู้                 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  ( t = -7.955)

               3.  ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้สาระท้องถิ่นร่วมกับแผนที่ความคิด โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (=2.82 ,S.D. = 0.36)

 

คำสำคัญ :  การอ่านจับใจความ / แบบฝึก/ สาระท้องถิ่น/ แผนที่ความคิด

 

Abstract

            The purposes of this research were to : 1) develop of comprehensive reading abilities for grade 3 students using reading exercises with local texts and mind - mapping technique  to meet the selected  standard afficient 80/80, 2) compare comprehensive reading abilities for grade 3 students using  reading exercises with local  texts and mind - mapping technique of pretest and posttest,and 3) study grade 3 students ’ opinions towards learning using reading  exercises  with  local  texts and mind – mapping technique. The sample were 35 grade 3 students of Banpathalom School in Kuiburi, Prachuabkirikhan. The experimental  design  was  One Group Pretest  Posttest  Design.

 

               The research instruments were lesson plan for grade 3 students , reading  exercises  with  local  texts and mind – mapping technique, comprehensive  reading abilities  test  and a questionare for grade 3 students using reading exercises with local texts and                     mind – mapping technique.The data were analyzed by percentage (%), mean (), standard  deviation (S.D.) and  t-test  Dependent.

               The  results  of  this  research  were  as  follow :

               1.  The efficiency of reading exercises with local texts and mind– mapping technique  was at 81.05/81.33.

               2.  The posttest reading  exercises  with  local  texts and mind – mapping technique  was higher than the pretest , there was statistically  significant at  .01  level. ( t = -7.955)

               3.  The grade 3 students ’opinion  towards towards learning using reading exercises  with local texts and mind – mapping technique were  at high  agreement level. (=2.82 , S.D. = 0.36)       

Keywords : Comprehensive  Reading Abilities / Exercises / Local  Texts / Mind – Mapping Technique

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ