การพัฒนาความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดร่วมกับแบบฝึกทักษะภาพการ์ตูน

Main Article Content

ศรีพระจันทร์ แสงเขตต์
อธิกมาส มากจุ้ย

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดร่วมกับแบบฝึกทักษะภาพการ์ตูน 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดร่วมกับแบบฝึกทักษะภาพการ์ตูน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 43  คนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนวัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง (แช่มประชาอุทิศ) ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การเขียนเรียงความโดยใช้แผนที่ความคิดร่วมกับแบบฝึกทักษะภาพการ์ตูน 2) แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความภาพการ์ตูน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเรียงความ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดร่วมกับแบบฝึกทักษะภาพการ์ตูน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน (t-test Dependent)

               ผลการวิจัยพบว่า

               1.  ความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดร่วมกับแบบฝึกทักษะภาพการ์ตูน หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

               2.  ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดร่วมกับแบบฝึกทักษะภาพการ์ตูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก                   

คำสำคัญ :  การเขียนเรียงความ  แบบฝึกทักษะภาพการ์ตูน 

 

Abstract

               The purposes of  this research were 1) to compare the write and effective essay for sixth grade students befor and after learning by using mind mapping with cartoonpicture exercises. 2) to  study  sixth grade students opinions toward using  mind  mapping  with cartoonpicture exercises. The sample consisted of 43 grade 6/1 students from Watsisamran Ratbumrung Cham Prachautit School second semester,  academic year 2014, and using simple random sampling technique with a classroom unit.  The research instruments used were 1) lesson plans of word compounding  by using mind mapping with cartoonpicture exercises.  2) writing an essay comics. 3)  Exercise  ability to write an essay test. 4) questionnaire on opinions toward  using mind  mapping  with cartoonpicture exercises. The data was analyzed by means, () standard deviation of  item (S.D.) and t-test dependent.

               The research findings were as follows:

               1.  The ability to write an essay students by using mind mapping with cartoonpicture exercises of sixth grade a were significantly higher than before  using  at  .05 level.

               2.  sixth grade students opinions toward using mind mapping with cartoonpicture exercises were  overall  at  the  high  level.

 

KEY WORD : ESSAY  WRITING  MIND  MAPPING CARTOONPICTURE EXERCISES


Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ