การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับแผนผังความคิด

Main Article Content

ศศิธร พงษ์โภคา

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ Pre – Experimental Design  มีแบบแผนการวิจัย  แบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนทดสอบหลัง  (One Group Pretest Posttest Design) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้1)  เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องมนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับแผนผังความคิด 2)  เพื่อศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับแผนผังความคิด  และ  3)  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี6/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557โรงเรียนบางลี่วิทยาจำนวน 38 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  1) แผนการจัดการเรียนรู้ ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับแผนผังความคิด 2)  แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้เรื่องมนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม  3) แบบประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหา  และ 4)  แบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ()  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  การทดสอบค่าที (t-test dependent)  และ  การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

ผลการวิจัยพบว่า  1) ผลการเรียนรู้  เรื่องมนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับแผนผังความคิดสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยทีกำหนดไว้  โดยหลังการจัดการเรียนรู้นักเรียนมีผลการเรียนรู้เรื่องมนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนาการความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน  ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับแผนผังความคิดมีพัฒนาการของความสามารถในการคิดแก้ปัญหา  สูงขึ้นตามลำดับ  3) ความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับแผนผังความคิด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 

 

Abstract

               This  research was Pre – Experimental Design  with  One Group Pretest Posttest Design by  the  purposes of  the research  were  1) to  compare  learning  outcomes on Human and Environmental Sustainability of Mutthayomsuksa 6 students  before  and  after  the  instruction  with Future  Problem  Solving Technique and  Mind  mapping, 2) to study Mutthayomsuksa 6 students’ problem  solving thinking abilities  development  after the  instruction  with Future  Problem  Solving Technique and  Mind  mapping,and 3) to study the students’ opinions towards  the instruction  with Future  Problem  Solving Technique and  Mind  mapping.The sample was 38 Mutthayomsuksa 6 class 2 students of Bangliwitthaya School in the second semester  of 2014 Acadamicyear.The research instruments  used  for  gathering  data  were 1) lesson planstowards the instruction  with  Future  Problem Solving Technique and  Mind mapping, 2) learning outcome test, 3) evaluation  form  of  problem  solving  thinking abilities and  4) questionnaire on opinions.The statistical analysis were mean, standard  deviation, t-test dependent  and  content analysis.

               The  results  of  the  research  were, 1) The  learning outcomes on Human and Environmental Sustainability of Mutthayomsuksa6 students after the instruction with Future  Problem Solving Technique and  Mind  mapping higher  than  before  had a statistically significant at the level of .05, whereas the learning  outcomes after the implementation were found higher than before the  implementation, 2) the  development  of  Mutthayomsuksa6 students’ problem  solving thinking abilities  after  the  instruction  with Future Problem  Solving Technique andMind mapping  were  gradually  increased  in  each  lesson  plans, 3)  the  students’ opinions  towards  the  instruction  with Future  Problem  Solving Technique and  Mind  mapping  were  at  a high  agreement  level,an  the  aspects of learning  environments  were  perceived at  a  very  high  agreement  level, learning  activities and learning usefulness  were perceived at high agreement  level  respectively.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ