การศึกษาความสามารถทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคหมวกหกใบ

Main Article Content

ศิริพร ศรีสุวรรณ์
อธิกมาส มากจุ้ย

Abstract

บทคัดย่อ                                                                                               

               งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตก่อนการจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคหมวกหกใบ2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคหมวกหกใบ กลุ่มประชากร คือ นักศึกษา ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาไทย  มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา TH 54605  ศิลปะการอ่านและการคิดวิเคราะห์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวนนักศึกษา 35 คน ใช้เวลาในการวิจัยทั้งหมด 12 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการการจัดการเรียนรู้ทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยเทคนิคหมวกหกใบ ในรายวิชาศิลปะการอ่านและการคิดวิเคราะห์ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย  ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคหมวกหกใบ                     การวิเคราะห์ความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย (m) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และคะแนนพัฒนาการ (Growth Score)          

ผลงานวิจัยพบว่า                                                                                                           1ความสามารถทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคหมวกหกใบสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้  โดยพัฒนาการทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ มีคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ร้อยละ 42.92  ซึ่งอยู่ในเกณฑ์คะแนนระดับสูง

2.             ความคิดเห็นของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคหมวกหกใบอยู่ในระดับมากที่สุด                                                                                         

คำสำคัญ : การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ / เทคนิคหมวกหกใบ

 

Abstract

               These objectives of this research were  1) to compare of the critical reading ability of the undergraduate students before and after implementation of six thinking hats technique, and  2) to study the opinion of the undergraduate students using six thinking hats technique. The sample consisted of 35 students from the second year of undergraduate students, Muban Chombueng Rajabhat University, Chombueng, Ratchaburi, first semester, academic year 2014, registered in TH 54605  Arts of Reading and Critical and spent 12 periods.

               The research instruments used were 1) critical reading ability lesson plans: of six thinking hats technique, 2) critical reading ability test with 30 questions in 4 multiple choices, and  3) a opinions survey form toward six thinking hats technique. The data were analyzed by mean (m), standard deviation of items ( ), and growth score.

               The research findings were as follows:

               1. The average scores of with the critical reading ability of the undergraduate students using six thinking hats technique. in the post-test were higher than pre-test scores. By the development of critical reading are using six thinking hats technique. A score of  42.92 percent relative increase in the threshold level                                                                      

               2. The undergraduate students’ opinion to ward the six thinking hats technique. was  at the highest level.

KEY  WORDS : THE CRITICAL READING / SIX THINKING HATS TECHNIQUE

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ