การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของครูสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดราชบุรี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง : การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของครูสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของครูสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดราชบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของครูสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดราชบุรี เมื่อจำแนกตามตัวแปร เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคในการพัฒนาตนเองของครูสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยโดยการตอบแบบสอบถามได้แก่ ครูผู้สอนทั้ง 8 กลุ่มสาระโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi –Stage random sampling) จำนวน 144 คน และโดยการสัมภาษณ์ ได้แก่ ครูหัวหน้ากลุ่มสาระหรือครูผู้สอน 6 อำเภอ อำเภอละ 1 คน รวม 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ( f) ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูล () และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของครูสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดราชบุรีสมรรถนะที่ควรจะเป็นโดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.742 , S.D. =0.452 ) ส่วนระดับสมรรถนะที่เป็นอยู่โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก (=4.156 , S.D.=0.625) ซึ่งเมื่อพิจารณาค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น () มีค่าเท่ากับ 0.141 หากพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่าครูสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดราชบุรีมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองในสมรรถนะด้านการสื่อสารและการใช้ภาษาเป็นอันดับแรก(=0.265)รองลงมาคือสมรรถนะด้านการวัดผลและประเมินผล (=0.233) และสมรรถนะด้านการพัฒนาหลักสูตร (=0.228) ส่วนสมรรถนะด้านภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีมมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองเป็นลำดับสุดท้าย (=0.059)
2. การเปรียบเทียบการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของครูสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดราชบุรีในสภาพที่เป็นอยู่กับสภาพที่ควรจะเป็น พบว่า 1) จำแนกตามเพศในภาพรวมพบว่า ครูเพศหญิงมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองสูงกว่าเพศชาย (0.059) มากที่สุดในสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) จำแนกตามอายุโดยภาพรวมพบว่า ครูที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองมากที่สุด (0.200) ในสมรรถนะด้านการวัดผลและการประเมินผล 3) จำแนกตามระดับการศึกษาโดยภาพรวมพบว่า ครูที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองมากที่สุด ( 0.158) ในสมรรถนะด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา 4) จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานโดยภาพรวมพบว่า ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 25 ปีขึ้นไป มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองมากที่สุด ( 0.157)ในสมรรถนะด้านการพัฒนาหลักสูตร
3. ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ของครู พบว่า ครูขาดความรู้และความชำนาญในการปฏิบัติหน้าที่ ขาดทักษะ ขาดประสบการณ์ในการสอน ขาดความรู้ด้านภาษา เทคโนโลยีและในวิชาที่เกี่ยวข้อง ปัญหาด้านงบประมาณที่ไม่เพียงพอหรือมีจำกัด การแข่งขันทางการศึกษาทำให้ครูเกิดความเครียด รวมไปถึงความไม่พร้อมของผู้เรียน มีภาระงานอื่นๆที่นอกเหนือจากภาระงานสอนและการดูแลผู้เรียน ผู้ปกครองไม่สนับสนุนการทำงานของครู การบริหารจัดการหรือการทำงานไม่มีความเป็นระบบและขาดการวางแผน
Abstract
The main purpose of this study was to 1) the needs assessment to self development of teacher, ratchaburi private education schools 2) compare need assessment to self development of teacher, ratchaburi private education schools classified by gander, age, educational level and working experiences 3)studying the problems, difficulties and requirements necessary for self development of teacher, ratchaburi private education schools. The samples used in the research by the respondents include . Teachers are eight groups by sampling the step (Multi -Stage random sampling) , and by interviewing 144 people including teachers , head teachers group or one of six district employees, including six people the tools used . Research includes 1 ) Level 5 assessment scale questionnaire 2) structured interview protocol, statistics, which are used in data analysis including frequency (f), percent (%), average (), standard deviation (S.D.) the modified priority needs index () and the analysis of content.
The research findings are as follows :
1. The needs assessment to self development of teacher, ratchaburi private education schools were that 1) the status quo was at the high level (= 4.156 , S.D. = 0.625 ) 2) the necessary conditions was at the highest level (= 4.742 , S.D. = 0.452 ) 3) the modified priority needs index ( = 0.141) by performance communication and language are the most important needs first. Followed by performance measurement and evaluation.
2. A comparison of need assessment to self development of teacher, ratchaburi private education schools desirable qualifications on the necessary conditions and the status quo 1) classified by gender was found in the overview found that female teachers are required to develop ourselves higher than male (the modified priority needs index required equals 0.059) in Child center skill. 2) classified by age was found that teachers upper 60 years had the most necessary needs (the modified priority needs index required equals 0.200)in performance measurement and evaluation skill. 3) classified by level of education overall found that teachers who graduated at bachelor's degree requirement needed for development. Ourselves as much as possible (the modified priority needs index required equals 0.136) in communication and language skill. 4) classification based on years of experience in working with the overview found that teachers with 25 years of experience in working up. There is a need to develop ourselves as much as possible (the modified priority needs index required equals 0.157) in competency curriculum development.
3. Barriers to perform the duties of teachers found that teachers lack the knowledge and expertise to perform their duties , lack of skills , lack of experience in teaching. Lack of language skills Technology and related subjects The budget is limited or inadequate . Competitive education teacher stress. The unavailability of a learner. A task other than the task of teaching and student care . Parents do not support the work of teachers. The management or operation without the system and lack of planning.