การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เกมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

Main Article Content

สุชาติ แสนพิช

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เกมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) เปรียบเทียบคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนและหลังจากการเรียนรู้เมื่อใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เกมออนไลน์เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เกมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในเขตจังหวัดปทุมธานี จำนวน 120 คน  ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เกมออนไลน์เพื่อฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2) เกมฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4) แบบวัดความพึ่งพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired-Sample T-Test

               ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เกมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน มีองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ได้แก่  ขั้นเตรียมการ (Preparation) ขั้นกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) และขั้นการประเมินผล (Evaluation) ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เกมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพที่ 80.90/81.67 2) คะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เกมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 3) หลังจากที่ได้เรียนผ่านรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เกมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น นักเรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจในระดับมาก (= 3.87) 

คำสำคัญ : การเรียนรู้แบบร่วมมือ เกมออนไลน์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

 

Abstract

               The purposes of this research were to 1) Develop a model of cooperative learning with online games that supports the basic science processing skills. 2) Compare between pre-test and post-test science processing skills of Mathayomsuksa one students. 3) Study the participants’ satisfaction on the model of cooperative learning with online games that is developed. The samples was the students of mathayomsuksa one in pathumthani province were 120 students selected by Multi - Stage Sampling. Research instruments were: 1) The model of cooperative learning with online games  that supports the basic science processing skills.  2) Online games that supports the basic science processing skills. 3) The basic science processing skills test 4) The satisfaction questionnaires. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation , Paired-Sample T-Test.

               The results of this research revealed that 1) A model of cooperative learning with online games that supports the basic science processing skills consisted of three components: Preparation, Learning Process and Evaluation. The efficiency of the model found was 80.90/81.67. 2) The science processing skills of students were found that the post-test score was higher than pre-test score at the significant level of .01. 3) Satisfaction mean score of experimental students with a cooperative learning with online games was in high level          ( = 3.87)

Keyword(s) : cooperative learning, online games, science processing skills

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ