การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก

Main Article Content

สุปราณี โล่ภักดีสวัสดิ์
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้การบริหารจัดการน้ำ ความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการน้ำ ทัศนคติที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำ 2) ศึกษาอิทธิพลของการรับรู้การบริหารจัดการน้ำที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก 3) ศึกษาอิทธิพลของความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการน้ำที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก 4) ศึกษาอิทธิพลของทัศนคติการบริหารจัดการน้ำที่มีต่อส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โครงการ   ส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก จำนวน 362 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ทดสอบสมมติฐานการวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่ายและ แบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้การบริหารจัดการน้ำ ความพึงพอใจต่อการใช้น้ำ ทัศนคติที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) การรับรู้การบริหารจัดการน้ำมีอิทธิพลทางบวกต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก 2) ความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการน้ำมีอิทธิพลทางบวกต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนาก 3) ทัศนคติที่มีต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมีอิทธิพลทางบวก

ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก ซึ่งผลจากการศึกษานี้จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐตระหนักถึงความสำคัญของกิจกรรมในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อที่จะสามารถวางแผนดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนขุนด่านปราการชล และเป็นแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้ยั่งยืนต่อไป

คำสำคัญ : การรับรู้/ความพึงพอใจ/ทัศนคติ/การมีส่วนร่วม

 

Abstract

               The purpose of this study was to 1) investigate citizens’ awareness, satisfaction, attitudes and participation towards water management 2) survey awareness influence of water management towards participation of citizens in water resources management 3) study satisfaction influence in water management towards citizens’ participation 4) study attitude influence towards citizens’ participation.: Royal water supply and maintenance project, Khundan Prakaarnchon Dam, Nakornnayok Province. The sample was 362 people living in this area. Questionnaires were used to collect data. Percentage, Mean, S.D., and Correlation coefficient were applied for data analysis. Multiple Regression Analysis was conducted to test all hypotheses. The results showed that the overview of citizens’ awareness, satisfaction, attitudes and participation towards water management was at a moderate level. The hypotheses test showed that 1) awareness of water management towards participation of citizens in water resources management had a positive influence towards citizens’ participation. 2) Satisfaction of water management had a positive influence towards citizens’ participation.3) Attitudes of water management had a positive influence towards citizens’ participation. The results of the study get government offices recognize the importance of public participation activities in water management in order to be able to plan operations to meet the needs of people living in the area and as a development guideline of a sustainable water resources management. 

Key words : awareness/satisfaction/attitudes/participation 

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ