การรับรู้คุณภาพอากาศภายในอาคารสาธารณะ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
คุณภาพอากาศภายในอาคาร ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ใช้พื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารที่ใช้ระบบปรับอากาศ ที่ผู้ใช้ไม่สามารถรับรู้ถึงมลพิษของอากาศและยังคงใช้พื้นที่ตามปกติ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ การวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศภายในอาคารในฐานะตัวชี้วัดแบบภววิสัย กับการรับรู้ของผู้ใช้ในฐานะตัวชี้วัดแบบอัตวิสัย และนำรูปแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพอากาศ มาเป็นปัจจัยหลักในการศึกษา โดยทำการประเมินคุณภาพอากาศด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์พร้อมกันกับการตอบแบบสอบถามของผู้ใช้พื้นที่ ในสถานที่ที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านกิจกรรม ปริมาณความหนาแน่นและระดับการเผาผลาญ เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกพื้นที่ เช่น ห้องเรียน ศูนย์อาหารและร้านอาหารปิ้งย่าง รวมทั้งสิ้น 11 แห่ง
จากการศึกษาพบว่าองค์ประกอบของปัจจัยสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทำให้ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิ ความชื้น และคาร์บอนไดออกไซด์มีความแตกต่างกัน โดยที่ห้องเรียนนั้นมีคุณภาพอากาศที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เป็นที่น่าสนใจว่า ผลการเปรียบเทียบกับการรับรู้ของผู้ใช้กลับไม่สามารถรับรู้ถึงมลพิษทางอากาศ ดังนั้นการเสนอแนะถึงแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมกายภาพที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่นักออกแบบควรคำนึงถึง ทั้งนี้เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีให้มวลชน
คำสำคัญ : การรับรู้, คุณภาพอากาศ, อาคารสาธารณะ
Abstract
Indoor air quality has been the important factor affecting health of occupancy particularly the building using air conditioning system. Users cannot perceive and have still utilize functional areas as usual. This research then aims to find on the relationship between indoor air quality as an objective indicator and perception of users as subjective indicator. Physical environmental design affecting air quality level has been consider of a important factor in this study.
Air quality was evaluated through scientific measuring instrument and questionnaire response from occupancies in places of case studies. Criteria for choosing case studies were based on both activities and density of occupancies. Eleven places were selected as case studies which include classrooms, food centers and roasted and grilled restaurants.
The study finds that elements of physical environment factors can cause different average of temperature, humidity and carbon dioxide content. According to the study, classrooms had air quality level below standard. Furthermore, user was not able to perceive air quality and air pollution. Therefore, results of this study can provide suggestion and guidelines for architects and interior designer to concern for interior environment and health of the publics.
Key Words : Perception, Interior Air Quality, Public Buildings