การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงมโนทัศน์ เรื่องเงินทองของมีค่า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เงินทองของมีค่า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 2) ศึกษาการคิดเชิงมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี อำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 1 ที่เรียนวิชา ส 12101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เงินทองของมีค่า ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดการคิดเชิงมโนทัศน์ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองฐาน สถิติที่ใช้ในการทดลองเครื่องมือ ค่าเฉลี่ย
( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t – test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเงินทองของมีค่า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. การคิดเชิงมโนทัศน์ เรื่อง เงินทองของมีค่า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (=3.87, S.D=1.60 )
3. ความคิดเห็นของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.84,S.D = .34)
Abstract
The purposes of this research were: 1) to compare the learning achievement on money valuables of prathomsuksa two students before and after using brain–based learning approach. 2) to study the conceptual thinking of prathomsuksa two students after using brain–based learning approach. and 3) to study the opinion of prathomsuksa two students using brain–based leaning approach. The sample of this research consisted of 44 students from prathomsuksa 2/1 students studying in the second semester during the academic year2014 inanubankachanaburi school, muang district, kachanaburi province, The primary education service area office in kachanaburi 1, the study of 12101 Social Studies, religion and culture. The research instruments employed to collect data were 1) the lesson plans on money valuables. 2) a learning achievement test of money valuables. 3) a conceptual thinking test on money valuables. and 4) a questionnaire on the opinion of prathomsuksa two students using brain–based learning approach. The collected data was analyzed for mean (), standard deviation (S.D.), t–test dependent and content analysis.
The findings were as follows:
1. The learning achievement on money valuables of prathomsuksa two students after using brain–based learning approach were higher than before at the level of .05 significance.
2. The conceptual thinking of prathomsuksa two students after using brain– based learning approach were at the good level overall.
3. The opinion of prathomsuksa two students using brain–based learning approach were at the higher level overall.