การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สังคมไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเผชิญสถานการณ์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สังคมไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเผชิญสถานการณ์ 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สังคมไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเผชิญสถานการณ์ 3) ศึกษาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเผชิญสถานการณ์ และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเผชิญสถานการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 3/5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สังคมไทย 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สังคมไทย 3) แบบวัดทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สังคมไทย 4) แบบวัดพัฒนาการทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาระหว่างการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สังคมไทย และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเผชิญสถานการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สังคมไทย หลังเรียนด้วยกระบวนการเผชิญสถานการณ์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สังคมไทย หลังเรียนด้วยกระบวนการเผชิญสถานการณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเผชิญสถานการณ์มีพัฒนาการสูงขึ้น
4. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเผชิญสถานการณ์ อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
Abstract
The objectives of this research were to; 1) compare the learning achievement on Thai Society of Mathayomsuksa three students before and after using situation confrontation process, 2) compare the problem solving thinking process skills on Thai Society of Mathayomsuksa three students before and after using situation confrontation process, 3) study the problem solving thinking process skills of Mathayomsuksa three students during learning with situation confrontation process, and 4) study the opinions of Mathayomsuksa three students using situation confrontation process. The samples of this research consisted of 40 students from the class of Mathayomsuksa 3/5 students studying in the second semester during the academic year 2014 at King’s College, Sampran District, Nakhonpathom Province of the Office of Secondary School District 9. The research instruments used for gathering data were 1) the lesson plans on Thai Society, 2) a learning achievement test of Thai Society 3) a test of problem solving thinking process skills on Thai Society 4) a test of problem solving thinking process skills development on Thai Society, and 5) a questionnaire on the opinion of Mathayomsuksa three students using situation confrontation process. The collected data was analyzed by mean ( ), standard deviation (S.D.), t-test dependent and content analysis.
The research findings of study were as follows:
1. The learning achievements on Thai Society of Mathayomsuksa three students after using situation confrontation process were higher than before using situation confrontation process at the level of .05 significance
2. The problem solving thinking process skills on Thai Society of Mathayomsuksa three students after using situation confrontation process were higher than before using situation confrontation process at the level of .05 significance
3. The growth of the problem solving thinking process skills of Mathayomsuksa three students during learning by situation confrontation process were high scores.
4. The students opinions of Mathayomsuksa three students using situation confrontation process showed the highest level of satisfaction.