การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน

Main Article Content

ทิพวัลย์ แซ่โง้ย
อนัน ปั้นอินทร์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน  2) เปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและหลังเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนกำแพงแสนวิทยา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จำนวน 35 คน

            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ                                2) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ                             4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

            ผลการวิจัยพบว่า

                1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05

                2.  ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ไม่แตกต่างจากกัน

              3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.29, S.D. = 0.65)

Abstract

            The purposes of this research were to 1) compare the learning achievement of Matthayomsuksa 3 students on the topic of North America continent before and after the use of blended learning; 2) compare the learning retention of the students on the topic of North America continent; and 3) investigate the opinions of the students toward blended learning. The sample used in the study was 35 Matthayomsuksa 3/1 students of 2nd semester in 2014 at Kampaengsaenwitthaya School, Kampaengsaen District, Nakhon Pathom Province under the jurisdiction of the Secondary Education Service Area Office 9.

            The tool used in the research comprised 1) lesson plans on the topic of North America Continent; 2) computer assisted instruction on the topic of North America Continent; 3) a learning achievement test; and 4) a questionnaire for the opinions of students toward blended learning. The data were analyzed by using mean (), standard deviation (S.D.), dependent t-test, and content analysis.

            The research results revealed that

            1.  The learning achievement of the students on the topic of North America Continent after the use of blended learning was higher than that of before the use with the statistical significance at the level of .05.

            2.  The learning retention of Matthayomsuksa 3 students on the topic of North America Continent right after the use and 2 weeks after the use of blended learning was not different.

            3.  The opinions of the students toward blended learning was generally at the strongly agree level ( = 4.29, S.D. = 0.65).

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ