ผลการเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลองวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ศุภวรรณ นิลศรี
อนิรุทธิ์ สติมั่น
สมหญิง เจริญจิตรกรรม
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลองวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 70/70  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลอง     วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลองวิชาวิทยาศาสตร์         เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลอง วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลาดใหญ่    ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558  จำนวน 16 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลากเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับผู้เชี่ยวชาญ         2) แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลอง วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง       การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  3) บทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลอง วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์  5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช    6) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลอง วิชาวิทยาศาสตร์ 

เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ( )         ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent

               ผลการวิจัยพบว่า

                    1. บทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลองวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  มีประสิทธิภาพ 79.79/71.04  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

                    2. ผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลอง วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียน (  = 21.31,   S.D. = 2.85) สูงกว่าก่อนเรียน (  = 11.00, S.D. = 2.78) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                    3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลองวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียน             (  = 20.88, S.D. = 2.87) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 10.19, S.D. = 1.68) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                    4.. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลองวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก               (  = 2.84, S.D. = 0.11)

 

Abstract

               The purpose of this research were 1) To develop the simulation multimedia lesson in science subject for pratomsuksa 4 students to the effectiveness criterion 80/80. 2) To compare learning achievement of pratomsuksa 4 students before and after studying with simulation multimedia lesson in science subject. 3) To compare the analytical thinking of pratomsuksa 4 students before and after studying with simulation multimedia lesson in science subject. 4) To study the students’ opinion on the simulation multimedia lesson in science subject for pratomsuksa 4 students. The research samples consisted of 16 students of pratomsuksa 4 students from Banladyai School in the first semester of the academic year 2015, were selected as research samples by Simple Random Sampling. The instruments of this research were 1) Structured interview form the specialists. 2) Lesson plans on plant life on science subject. 3) Simulation multimedia lesson in science subject for pratomsuksa               4 students. 4) Analytical thinking test. 5) Learning achievement test. 6) Questionnaire form on students’ satisfaction. The data were statistically analyzed by mean ( ), standard deviation (S.D.) and t-test of dependent.

               The results of this search were as follow:

                    1. The efficiency of the simulation multimedia lesson in science subject for pratomsuksa 4 students’ score was 82.11/81.11, which met prescribed criterion.

               2. The students learning achievement after learning by using simulation multimedia lesson in science subject for pratomsuksa 4 students (  = 21.31, S.D. = 2.85) were statistically significant higher than before (  = 11.00, S.D. = 2.78) at .01 level.

                    3. Capability in solving analytical thinking of pratomsuksa 4 students learning after learning by using simulation multimedia lesson in science subject (  = 20.88, S.D. = 2.87) were statistically significant higher than before (  = 10.19, S.D. = 1.68) at .01 level.

                    4. The students’ satisfaction towards simulation multimedia lesson in science subject for pratomsuksa 4 students was high level.  (  = 2.84, S.D. = 0.11) 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ