กระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีอัตลักษณ์เชิงสร้างสรรค์

Main Article Content

สิริชัย ดีเลิศ

Abstract

บทคัดย่อ

               งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีอัตลักษณ์เชิงสร้างสรรค์ มีลักษณะเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้ทฤษฎีฐานราก ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มสาขาวิชา จำนวน 26 คน โดยแบ่งการศึกษาเป็น 4 กลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ 1) กลุ่มสาขาวิชาศิลปะ 2) ศิลปะประยุกต์ 3) มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ 4) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์มี 5 ขั้นตอน คือ 1) ความรู้ในศาสตร์ 2) การพัฒนาทักษะและทัศนคติ 3) การสร้างความคิด 4) การกลั่นกรองแนวความคิดและ 5) การสร้างอัตลักษณ์ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ถูกสอดแทรกในกระบวนการเรียนการสอนมากน้อยต่างกัน ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนและส่งผลต่อการเรียนการสอนที่มีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ คือ ผู้บริหาร อาจารย์ พนักงานสายสนับสนุน เครื่องมือ สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ รวมถึงบุคลิกความชอบ และความสนใจของนักศึกษา

 

คำสำคัญ:  ความคิดสร้างสรรค์, อุดมศึกษา, อัตลักษณ์, นวัตกรรม

 

Abstract

            This research aimed to study the creative thinking development process in the creative higher education institute that promotes students’ creative thinking and identity. Hence, qualitative research under the grounded theory approach by using an in-depth interviews taken from 26 professors and administrators in  four major relative fields; Fine Arts, Applied Arts, Social Sciences and Humanities, and Science and Technology was adopted to collect data. This study found that there were five stages of creative thinking development process. (1) knowledge, (2) skills and attitudes, (3) development idea generation, (4) 

verification, and (5) identity. The creative thinking was added in the learning process differently. Further, administrators, professors, staff, equipment, learning atmosphere, personal interest and students’ attention were main factors supported and influenced to learning and teaching relating to creative thinking development.

 

 Keyword: Creative Thinking, Higher Education, Identity, Innovation

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ