ผลการเรียนแบบอีเลิร์นนิงด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างค่านิยมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เชิงจริยธรรม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

นรชัญญา หาภา

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการตัดสินใจเชิงจริยธรรมก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างค่านิยม 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างค่านิยม 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างค่านิยม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร   ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 468304 จริยธรรมและจรรณยาบรรณนักเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 31 คน

               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างค่านิยม 2) บทเรียนอีเลิร์นนิงด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างค่านิยม3) แบบประเมินการตัดสินใจเชิงจริยธรรม 4) แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างค่านิยม และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาต่อบทเรียน อีเลิร์นนิงด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างค่านิยม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย (m) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s)

ผลการวิจัยพบว่า

               1. ผลการเปรียบเทียบคะแนนการตัดสินใจเชิงจริยธรรมก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 34.33

               2. ผลการศึกษาพฤติกรรมการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างค่านิยม ในรายวิชาจริยธรรมและจรรยาบรรณนักเทคโนโลยีการศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (m=2.61 และ s=0.49)        

               3. ผลการศึกษาศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างค่านิยม ในรายวิชาจริยธรรมและจรรยาบรรณนักเทคโนโลยีการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับดี ( m =3.55 และ s=0.80)

 

Abstract

            The purposes of this research were : 1) to compare the moral decision between before and after learning by using e-learning 2) to study behaviors of students taught via        e-learning by using problem based learning and value clarification and 3) to study student’s opinions towards e-learning by Problem based learning and Value clarification for moral decision. The sample used in the research consisted of 31 the third-year undergraduate student at Faculty of Education, who registered in 468304 Moral and Ethics For Educational Technologist in the second semester of academic year 2014, Silpakorn University.               The Instrument in this research were 1) lesson plans. 2) e-learning using Problem based learning and Value clarification for moral decision. 3) competency of moral decision test.       4) behavior observation form and 5) questionnaire on students’ opinions. The data analysis were mean, standard deviation and t-test

            The results of research were as follows:

            1.  The result compare score in the moral decision posttest was higher than pretest with the 34.33 percent.

            2.  Behavior of student who learned with e-learning by using Problem based learning and Value clarification found that students were responsible at a good level (m=2.61 and s=0.49)

            3.  The opinion of student towards e-learning by using problem based learning and Value Clarification for moral decision was good positive level (m=3.55 และ s=0.80)

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ