การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

ชลธิชา หอมฟุ้ง
บุษบา บัวสมบูรณ์
บำรุง ชำนาญเรือ
มณฑนา วัฒนถนอม
สมพร ร่วมสุข
อธิกมาส มากจุ้ย

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรศึกษาศาสตร์ บัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร งานวิจัยนี้ใช้แนวคิดซิปป์ไอ (CIPPi model) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บัณฑิต นักศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูพี่เลี้ยง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ มีผลการวิจัยดังนี้ 1)ด้านสภาพแวดล้อม ผลการประเมินเฉลี่ยอยู่ในระดับดี สาขามีจุดแข็ง คือคณาจารย์มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ และหลักสูตรมีคุณภาพ 2)ด้านปัจจัยนำเข้า    มีผลการประเมินเฉลี่ยในระดับดี ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะด้าน หนังสือ ตำรา ควรเพิ่มให้เพียงพอ ห้องคอมพิวเตอร์ควรปรับปรุง 3)ด้านกระบวนการ มีผลการประเมินเฉลี่ยในระดับดี 4) ด้านผลผลิต นักศึกษาจบการศึกษาตามหลักสูตร คิดเป็น 100 % บรรจุเป็นครูร้อยละ 82.93 ศึกษาต่อร้อยละ 12.20 ทั้งศึกษาต่อและทำงานร้อยละ 4.88 และ 5) ด้านผลกระทบ ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิตในระดับมาก

 

Abstract

            This research aimed to: 1) evaluate the Bachelor of Education program in Thai and 2) improve and develop the curriculum. This research was based on the CIPPi model. The samples were graduates, students, employers, lecturers, experts, administrators of the Faculty of Education, school administrators and school supervisors. The instruments were structured 

interview forms and questionnaires. The results of this research revealed that: 1) Context: the average of evaluation was at the high level. Strength: highly experienced and expert lecturers, high quality curriculum. 2) Input: the average of evaluation was at the high level. However, It is suggested to provide sufficient books and textbooks and improve the computer room. 3) Process: the average of evaluation was at the high level. 4) Product:  all students graduated from the curriculum: the 82.93 percent of graduates was government teacher, the 12.20 percent of graduates studied master degree, and the 4.88 percent of graduates was government teacher and studied master degree in the same time. And  5) Impact: the employers were satisfied with the graduates’ performance at the high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ