การพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบผสมผสาน ด้วยหลักการสื่อสารเพื่อการพัฒนา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีม ของกลุ่มกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น

Main Article Content

ธันยพร วณิชฤทธา

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบผสมผสาน ด้วยหลัก การสื่อสารเพื่อการพัฒนา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นทีมของกลุ่มกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น และ (2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยหลักการสื่อสารเพื่อการพัฒนา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นทีมของกลุ่มกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น ดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ทั้งวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ที่แต่งตั้งตามระเบียบกองทุนฯ ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คณะทำงานย่อย ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการกองทุนสปสช.และสมาชิกในชุมชน ในตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 15 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การวิจัยมี 4 ขั้นตอนคือ (1) ศึกษาบริบทของกลุ่มกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น (2) พัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบผสมผสาน (3) ทดลองรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบผสมผสานและ (4) รับรองรูปแบบและนำเสนอรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบผสมผสาน ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยหลักการสื่อสารเพื่อการพัฒนา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นทีมของกลุ่มกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) คน 2) สื่อและเทคโนโลยี 3) พื้นที่ 4) ทรัพยากร ปัจจัยสนับสนุน และ 5) เรื่องที่จะเรียนรู้ และมีขั้นตอนกระบวนการ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สื่อสาร

สัมพันธ์ สร้างแรงจูงใจ 2) ตั้งเป้าหมายทีมเรียนรู้ คู่แนวคิด มีทิศทาง 3) แลกเปลี่ยนแบ่งปัน ประสบการณ์ในทีม 4) เติมเต็มข้อมูล หนุนเสริมการเรียนรู้ 5) จัดเก็บและสร้างคลังความรู้ของทีม และ 6) สะท้อนกลับ ปรับวิธี (2) ผลการใช้รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยหลักการสื่อสารเพื่อการพัฒนา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นทีมของกลุ่มกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น พบว่าผลการประเมินตนเองของกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบประเมินการเรียนรู้เป็นทีมหลังการใช้รูปแบบ มีการเรียนรู้เป็นทีมสูงขึ้นกว่าก่อนใช้รูปแบบทุกด้าน ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยกับองค์ประกอบและขั้นตอนของรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยหลักการสื่อสารเพื่อการพัฒนา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นทีมของกลุ่มกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ : การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบผสมผสาน การสื่อสารเพื่อการพัฒนา การเรียนรู้เป็นทีม

 

Abstract

            The research aimed to: (1) develop the blended knowledge sharing model through development communication approach to enhance team learning of Local Health Security Fund and (2) to implement the blended knowledge sharing model through development communication approach to enhance team learning of Local Health Security Fund. The research was a mixed methods approach including both quantitative and qualitative research. The samples were members of Local Health Security Fund in Bang Nam Pheung community, Pharapradaeng district of Samut Prakan Province. The 15 informants were select by the purposive sampling technique.

            The research procedures consisted of 4 phases: (1) analysis and synthesis the basic information of Local Health Security Fund and the community, (2) develop the blended knowledge sharing model, (3) study the results of blended knowledge sharing model and (4) evaluate and present the blended knowledge sharing model.

          The research findings found that: (1) The blended knowledge sharing model through development communication approach to enhance team learning of Local Health Security Fund consisted of 5 components were: 1) People 2) Media 3) Space and climate 4) Resources and supporting infrastructure 5) Contents. The six steps of blended knowledge sharing model through development communication were: 1) develop a relationship and understand the local setting 2) identify team learning objectives and activities 3) learn and share explicit and tacit knowledge 4) learn from best practice and empowerment 5) collect and storage team knowledge 6) conduct monitoring and feedback. Second, the result of using blended knowledge sharing model through development communication approach to enhance team learning of Local Health Security Fund by the samples’ self-posttest team learning scores were 

significantly higher than pretest team learning scores in all aspects. The experts approved all components and process of blended knowledge sharing model through development communication approach to enhance team learning of Local Health Security Fund was appropriate in high level.

Keywords: Blended Knowledge Sharing, Development Communication, Team Learning

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ