รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐอินโดนีเซียฉบับค.ศ. 1945 กับแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นชาติ

Main Article Content

สุวัฒนา มณีเจริญ

Abstract

บทคัดย่อ

            การประกาศเอกราชของสาธารณรัฐอินโดนีเซียในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนหลังการประกาศยอมแพ้สงครามของกองทัพญี่ปุ่น สามเดือนก่อนหน้านั้นได้มีการเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญโดยกลุ่มผู้นำชาวพื้นเมืองภายใต้การสนับสนุนของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามการยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งนั้นกระทำด้วยคณะกรรมาธิการซึ่งมีสมาชิกเพียง 62 คนโดยไม่มีโอกาสได้สำรวจความคิดเห็นหรือขอประชามติจากท้องถิ่น   กลุ่มสังคม และชุมชนอันหลากหลายของกลุ่มเกาะอินโดนีเซีย รัฐธรรมนูญ ฉบับ ค.ศ. 1945 ที่ประกาศใช้หลังได้รับเอกราชจึงไม่อาจถือได้ว่าสะท้อนความต้องการของปวงชน แต่เป็นเอกสารที่แสดงแนวคิดหรือวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความเป็นชาติของผู้นำที่มีส่วนในการร่างและผู้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำของประเทศหลังประกาศเอกราช ในแง่นี้จึงถือว่ามีความสำคัญในกระบวนการสร้างชาติของประเทศอินโดนีเซีย บทความนี้นำเสนอภูมิหลังของผู้ที่มีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1945 ขั้นตอนของ  การต่อรองระหว่างกลุ่มการเมืองต่างๆ ระหว่างการยกร่าง และวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นชาติที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ

คำสำคัญ: สาธารณรัฐอินโดนีเซีย, รัฐธรรมนูญฉบับค.ศ. 1945, เอกราช, การสร้างชาติ

 

Abstract

          The Declaration of Independence of the Republic of Indonesia on the 17thof August 1954 was fast-tracked after the Japanese surrendering. Three months before that time and under the Japanese support, a group of Indonesian nationalist leaders began to draft the constitution. The drafting was undertaken by the Committee which comprised of only 62 members, neither a national referendum nor the public opinions were involved. The 1945 Constitution of Indonesia could not, therefore, be regarded as representing the viewpoints of 

the Indonesian citizens. Nevertheless, the constitution remains the important document which reflected the thought of those responsible for its drafting, their concepts of state and their visions on Indonesian nation. As such, the 1945 Constitution was an important tool for nation-building. This article is related to the background of the people who took part in the drafting of the 1945 Constitution, examines the process and the involved negotiation and analyzes the concept of nation that is imprinted within the Constitution’s text.

Keywords: The Republic of Indonesia, the 1945 Constitution, the Independence, the nation-building

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ