ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างการรับรู้อัตลักษณ์การเป็นประชาขนในประชาคมอาเซียนกับการตระหนักถึงผลประโยชน์แห่งชาติ : ศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทย ลาวและมาเลเซีย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง“ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างการรับรู้อัตลักษณ์การเป็นประชาชนในประชาคมอาเซียนกับการตระหนักถึงผลประโยชน์แห่งชาติ:ศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทยลาวและมาเลเซีย”ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสร้างอัตลักษณ์การเป็นประชาชนในประชาคมอาเซียนกับการตระหนักต่อผลประโยชน์แห่งชาติของประชาชนในประเทศไทย มาเลเซีย และลาว โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากกลุ่มประเทศที่มีขนาดรายได้ที่มีขนาดแตกต่างกันจาก รายได้ค่อนข้างสูง รายได้ปานกลาง และรายได้ค่อนข้างต่ำ ซึ่งบทความนี้จะนำเสนอส่วนวิจัยที่ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งมีคำถามที่สำคัญคือ หากเมื่อรวมกันเป็นประชาคมอาเซียนแล้วการสร้างการรับรู้ถึงอัตลักษณ์อาเซียนกับการตระหนักถึงผลประโยชน์แห่งชาติของแต่ละประเทศจะมีด้านใดบ้างมีระดับการตระหนักและรับรู้มากน้อยเพียงใดและมีลักษณะอย่างไร โดยการตระหนักรับรู้ถึงการสร้างอัตลักษณ์อาเซียนจะวิเคราะห์ในด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน ด้านการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและอุตสาหกรรม และด้านการมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับชุมชน ศึกษาผลประโยชน์แห่งชาติของ 3 ประเทศเมื่อต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในด้านการเมือง ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านอุดมการณ์ ซึ่งผลของการวิจัยพบว่าประเทศไทย มาเลเซีย และลาว ต่างให้ความสำคัญกับการสร้างการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนและความรู้สึกของการเป็นประชาคมอาเซียนโดยผ่านการประชาสัมพันธ์ทางทีวี วิทยุ และ อินเตอร์เน็ต การแจกจ่ายข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน ในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อมัลติมีเดียส่วนด้านการตระหนักถึงผลประโยชน์แห่งชาติพบว่าผลประโยชน์แห่งชาติด้านเศรษฐกิจในประเด็นเกี่ยวกับการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียนเป็นระดับที่มีการตระหนักมากที่สุดเมื่อต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ผลที่ได้จากการวิจัยจะสามารถนำมาพัฒนาแนวคิดการคงอยู่และเป็นแนวทางการปรับตัวของอัตลักษณ์อาเซียนกับผลประโยชน์แห่งชาติที่แตกต่างของแต่ละประเทศให้คงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืนได้ภายใต้วิสัยทัศน์ “One Vision One Identity One Community”
คำสำคัญ ประชาคมอาเซียน อัตลักษณ์อาเซียน ผลประโยชน์แห่งชาติ ประชาชนอาเซียน อาเซียน
ABSTRACT
The relationship between the realization of building ASEAN identity and realization over its own National interest among ASEAN citizenship: Comparative case among Thailand Malaysia and Laos
This research aims to compare the relationship between identity of being ASEAN citizens and their own national interests among people in Thailand, Malaysia and Laos. These three countries were chosen as case studies because they could best represent the countries that have different levels of incomes, namely, high, moderate and low. The data were collected by means of literature review and a questionnaire. The key question is ‘if the ten countries have integrated as one community, will the research participants feel the sense of being under the same community or still concern more about their own national interests?’ The research also focuses on how people plan to adapt themselves to the community. The data areanalysed with the main focus on preserving and nurturing the ASEAN culture in terms of creativity, industry, and community participation. In addition, the research also aims to find out about the national interests of the three countries in terms of politics, security, economy, culture and ideology. It is expected that the research results could be used to support the development of the state of being under the same ASEAN community and having a common ASEAN identity by perceiving the differences among the member states, which could lead to the healthy development of ASEAN community by following the ASEAN vision, “One Vision One Identity One Community”.
Keywords: ASEAN community, ASEAN identity, national interest, ASEAN population, ASEAN