ผลการเรียนด้วยเทคนิคการร่วมมือกันเรียนรู้แบบบูรณาการการอ่านและเขียนเรียงความผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีต่อความสามารถในการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ขนิษฐา ทวีศรี
ศิวนิต อรรถวุฒิกุล

Abstract

บทคัดย่อ 

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเทคนิคการร่วมมือกันเรียนรู้แบบบูรณาการการอ่านและเขียนเรียงความผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 2) เพื่อประเมินความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียน                      ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ที่เรียนด้วยเทคนิคการร่วมมือกันเรียนรู้แบบบูรณาการการอ่านและเขียนเรียงความผ่านสื่อสังคมออนไลน์  และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่เรียนด้วยเทคนิคการร่วมมือกันเรียนรู้แบบบูรณาการการอ่านและเขียนเรียงความผ่านสื่อสังคมออนไลน์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6/2  โรงเรียนอนุบาลบางแพ  อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา 2557 จำนวน 23 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย  (Simple random sampling) โดยการจับฉลาก

               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) เว็บไซต์บทเรียนเรื่อง การเขียนเรียงความ 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน5) แบบวัดความสามารถในการเขียนเรียงความ  โดยใช้เกณฑ์การประเมินแบบรูบริค  และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าคะแนนเฉลี่ย  ( )  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)   และ t – test   แบบ  Dependent  Sample        

               ผลการวิจัยพบว่า

               1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเทคนิคการร่วมมือกันเรียนรู้แบบบูรณาการ       การอ่านและเขียนเรียงความผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หลังเรียน (  = 17.48 ,S.D. = 1.62) สูงกว่าก่อนเรียน      (  = 9.48 , S.D. = 4.49) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.01 

2.             ความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนที่เรียนด้วยเทคนิคการร่วมมือกันเรียนรู้แบบบูรณาการการอ่านและเขียนเรียงความผ่านสื่อสังคมออนไลน์  อยู่ในระดับดี (  = 3.45 , S.D. = 0.43) 

               3.  ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยเทคนิคการร่วมมือกันเรียนรู้แบบบูรณาการการอ่านและเขียนเรียงความผ่านสื่อสังคมออนไลน์  อยู่ในระดับมาก (  = 2.83 , S.D. = 0.37)     

 

Abstract 

            The purposes of this research were : 1) to compare Prathomsuksa 6 students’ learning achievement pretest and posttest  of cooperative integrated reading  and composition through social media, 2) to evaluate Prathomsuksa 6 students’ competency of essay writing by learning of cooperative integrated reading and composition through social media, and 3) to study Prathomsuksa 6 students’ satisfaction by learning of cooperative integrated reading and composition through social media. The sample used in this research consisted of Prathomsuksa 6/2 students  at  Anubanbangphae School Ratchaburi  in the second semester of academic year 2014. Twenty three  students  were selected by simple random sampling method  by drawing lots.

            The instruments in this research were : 1) lesson plans, 2) Website lesson, 3) a structured interview, 4) the achievement test, 5) evaluation form on competency of essay writing by using rubric score, and 6) questionnaire  form on students’ satisfaction. Data were analyzed using mean scores ( ) , standard deviation (S.D.), and  t - test  Dependent  Sample.

            The results were as follows :

            1.  The students’ learning achievement by learning of cooperative integrated  reading and composition through social media,  posttest  (  = 17.48 , S.D. = 1.62) was higher  than  pretest  (  = 9.48 , S.D. = 4.49)  at 0.01 level of significance.

            2.  The students’ competency of essay writing by learning of cooperative integrated reading and composition through social media was at good level.  (   = 3.45 , S.D. = 0.43)

               3.  The students’ satisfaction  by learning  of cooperative integrated  reading  and  composition through social media  was at high  level.  (  = 2.83 , S.D. = 0.37)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ