ความคาดหวังและความพึงพอใจในการใช้บริการที่พักแบบโฮมสเตย์ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 2) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว 3) ศึกษาลักษณะด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องท่องเที่ยวชาวไทยในธุรกิจโฮมสเตย์ 4) เปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โดยใช้ทฤษฏีความคาดหวัง และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวและใช้บริการที่พักในรูปแบบโฮมสเตย์ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวนทั้งสิ้น 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ด้วย t-test และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบค่าเฉลี่ยความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของ LSD และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ด้วยสถิติที ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานภาพสมรส วัตถุประสงค์การเดินทางที่แตกต่างกันส่งผลให้ระดับความคาดหวังต่อการใช้บริการที่พักแบบโฮมสเตย์แตกต่างกัน 2) วัตถุประสงค์การเดินทางที่แตกต่างกันส่งผลให้ระดับความพึงพอใจต่อการใช้บริการที่พักแบบโฮมสเตย์ แตกต่างกัน 3) ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการใช้บริการที่พักโดยรวม ด้านอาหารและโภชนาการ ด้านความปลอดภัย ด้านการนำเที่ยว ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ และด้านการประชาสัมพันธ์โฮมสเตย์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่าระดับความพึงพอใจสูงกว่าระดับความคาดหวัง ดังนั้นผู้ประกอบการควรพัฒนาและปรับปรุงการบริการด้านที่เหลือ ได้แก่ ด้านที่พัก ด้านอัธยาศัยของเจ้าบ้านพักหรือโฮมสเตย์ ด้านวัฒนธรรม ด้านการบริการของโฮมสเตย์ เพื่อทำให้ผู้ใช้บริการพึงพอใจมากกว่าที่คาดไว้ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความสำเร็จของการทำธุรกิจบริการ
คำสำคัญ: โฮมสเตย์ ความพึงพอใจ ความคาดหวัง
Abstract
The purpose of this research is to study the expectation and satisfaction level of tourists, to study tourists’ behavior, study the demographic characteristic that affect Thai tourists’ satisfaction in homestay business and to compare customers’ expectation and satisfaction level by using Expectancy Theory and Satisfaction Theory. This research is Quantitative Research by using Survey Research. Sample is 400 Thai tourists visiting homestay in Amphawa, Samut Songkram. The method used is Convenience Sampling by using questionnaire to collect the data, analyzed by using Frequency, Percentage, Mean and Standard Deviation, comparative analysis between tourists’ expectation and satisfaction according to personal factors using t-test and One-way ANOVA, test the difference in average in each pair by using LSD (Least Significant Difference) and compare the difference between tourists’ expectation and satisfaction by using Paired t-Test. The result found that the difference in marital status and the purpose of travelling result in different expectation level of homestay service. However the difference in age, education level, occupation, income and purpose of travelling result in different satisfaction level of homestay service. In addition, the result found that the overall expectation and satisfaction level in food and nutrition, security, tour guide, natural resource and environment, value added to the product and public relation in homestay are different with the Significant level of 0.05, thus the satisfaction level is higher than the expectation level. Therefore, the entrepreneur should develop and improve services in other area such as accommodation, host hospitality, culture and service in homestay to gain more satisfaction level than expected which could be considered as one of the success in service business.
Keywords: Home Stay, Satisfaction, Expectation