การดำเนินงานพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับโรงเรียนเทพศิรินทร์แก่นักเรียน และผู้สนใจทั่วไป โดยเปิดให้บริการมากว่า 3 ปี ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสภาพการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ โดยประยุกต์กรอบวิธีคิดแบบซิปโมเดล (CIPP Model) ซึ่งเป็นวิธีประเมินผลสภาพการดำเนินต่างๆได้อย่างรอบด้าน ผ่านแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามการบริหารจัดการของโรงเรียนเทพศิรินทร์ นักเรียนเทพศิรินทร์ และบุคคลทั่วไป ซึ่งประเด็นคำถามประกอบด้วยด้านการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ องค์ประกอบเกื้อหนุนในการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ กระบวนการดำเนินงาน และการให้บริการทางการศึกษา พบว่าการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ที่ผ่านมาเกิดปัญหาในประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1) การขาดส่วนร่วมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามการบริหารจัดการของโรงเรียน และนักเรียน ซึ่งสะท้อนถึงการขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของงานพิพิธภัณฑ์ 2) จำนวนบุคลากรพิพิธภัณฑ์ไม่เพียงพอ 3) การประชาสัมพันธ์ข่าวสารความเคลื่อนไหว และข้อมูลเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์โรงเรียนที่ยังไม่ทั่วถึง 4) การดำเนินงานของนักเรียนภายในชุมนุมยังขาดประสิทธิภาพ 5) การจัดกิจกรรมทางการศึกษาที่ไม่หลากหลาย และ6) ขาดการใช้ประโยชน์จากพิพิธภัณฑ์ในด้านการศึกษา
Abstract
Debsirin Educational Museum is a historical learning center for students and visitors. The museum has opened for over 3 years. This article is aimed to study the museum’sprocessing by applying CIPP Model paradigm which is quite well completely project evaluation. The research’s tool is questionnaire for 3 sampling groups: people under Debsirin School’s management, Debsirin students and visitors. The questions are involved with management, museum elements, museum process and educational services. The study was found some problems about museum’s processing 1) Non-engagement of people under Debsirin School’s management and Debsirin students throughout be unknown about museum knowledge 2) Lacking of museum workers 3) Poor and narrow museum public relation 4) Inefficient of student activity club 5) Few educational activities and 6) Unused museum for educational purpose