ความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจระหว่างชุมชนกับการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของวนอุทยานปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของวนอุทยานปราณบุรี 2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจระหว่างชุมชนกับการดำเนินงานด้านการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของวนอุทยานปราณบุรี 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของวนอุทยานปราณบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ หัวหน้าและเจ้าหน้าที่วนอุทยานปราณบุรี หัวหน้าและสมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านคลองเก่า ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และนักท่องเที่ยวชาวไทย รวมจำนวน 17 คน โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์และเปรียบเทียบหาข้อสรุป แล้วนำเสนอในรูปแบบการพรรณนาความ
ผลการศึกษาพบว่า 1) การดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของวนอุทยานปราณบุรี เน้นการท่องเที่ยวแบบสร้างจิตสำนึก สร้างความประทับใจ และการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมปลูกป่า และกิจกรรมล่องเรือชมธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชนชาวประมงปากน้ำปราณบุรี เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาเรียนรู้และสัมผัสธรรมชาติด้วยตนเอง รวมทั้งช่วยกระจายรายได้และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน แต่ยังมีข้อจำกัดด้านงบประมาณและการบริหารจัดการขยะทางน้ำ 2) ความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจระหว่างชุมชนกับการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของวนอุทยานปราณบุรี พบว่า มีลักษณะการพึ่งพากันทางเศรษฐกิจ การประสานประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน และการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน 3) ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของวนอุทยานปราณบุรี พบว่า นักท่องเที่ยวประทับใจในความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว ความสะอาดของสถานที่ และอัธยาศัยที่ดีของเจ้าหน้าที่และคนในชุมชน จากผลการศึกษา ข้อสรุป และข้อเสนอแนะ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในพัฒนาการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของวนอุทยานปราณบุรี เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, การดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, ความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจ
Abstract
The purposes of this research were to study 1) the ecotourism operations, 2) the economic relationship between communities and ecotourism operations, and 3) the discussion of tourists to ecotourism operations in the Pran Buri Forest Park. The study was the qualitative research studying on head and staff of the Pran Buri Forest Park, The Ban Klong Kao ecotourism team, entrepreneurs, and travelers by using in-depth interview tool. Data were analyzed by the objectives of the study and conclusians. And to present by describes the patterns.
The findings of this research indicated that 1) the ecotourism operations of 3 way as tourism awareness, to tourists impressed and the involvement of the community. Through reforestation activities and nature cruises. But there were limits of budget and waste water management. 2) the economic relationship between communities and ecotourism operations of the Pran Buri Forest Park found that economic interdependence, the mutual benefit to the economic and created sustainable economic opportunities to the community. And 3) the discussion of tourists to ecotourism operations in the Pran Buri Forest Park found that the tourist had impression to naturally, mangrove forest ecosystem, safeness, separation, cleanliness of location, kindliness’s staff and person in community. Therefore the result in case study it can be using forward to income distribution and the created sustainable economic opportunities to the community.
Key words: Ecotourism, Ecotourism operation, Economic relationship