ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6

Main Article Content

พรนภา เลื่อยคลัง
ภารดี อนันต์นาวี
สภาพร พฤฑฒิกุล

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie & Morgan (1970, p. 608) ได้จำนวน 291 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน 

               ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก บรรยากาศองค์การของโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยชีวสังคมของครูและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับบรรยากาศองค์การของโรงเรียนมีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยชีวสังคมของครูและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยชีวสังคมของครูได้แก่ ประสบการณ์ในการทำงาน (X2) ขนาดโรงเรียน (X3) และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ด้านการกระตุ้นเชาว์ปัญญา (X43) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล(X44) สามารถร่วมกันทำนายบรรยากาศองค์การโรงเรียนได้ร้อยละ 25.80  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถสร้างสมการทำนายบรรยากาศองค์การของโรงเรียนในรูปคะแนนดิบดังนี้

Y' =2.029+.311X43+.108X44+.064X2-.072X3

 

Abstract

            The purposes of this research were to study transformational leadership of administrators effecting organizational climate of secondary schools in Chachoengsao province under the secondary educational service area office 6. The research sample consisted of 291 teachers subcommittee of secondary educational service area office 6 obtained by stratified random sampling technique. Research instruments was a five rating scale survey questionnaire, with .98 reliability coefficient of part 2 and .98 reliability coefficient of part 3. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis.

               The obtained results showed that transformational leadership of administrators of secondary schools under the secondary educational service area office 6 were found was rate at the high level. Organizational climate of secondary school in secondary educational service area office 6 were found was rate at the medium level. Correlation  between factors of bio- social and transformational leadership correlate with organizational climate of the secondary school in secondary educational service area office 6. Factors of bio-social and transformational leadership of administrators effecting organizational climate of secondary school in secondary educational service area office 6 and intellectual stimulation (X43), individualized consideration (X44), experience of teacher(X2)  and school size were (X3)  able to cooperatively predict the organizational climate of secondary schools under the secondary educational service area office 6 at 25.80 percent, with statistical significant at 0.05 level. The predictive raw score equations of the organizational climate of secondary school were showed as follows.

               Y' =2.029+.311X43+.108X44+.064X2-.072X3

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ