การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการเรียนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

Main Article Content

มารุต คล่องแคล่ว

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการการเรียนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจัยด้านลักษณะการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาของนักศึกษา ปัจจัยด้านเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยกับความต้องการการเรียนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการเรียนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ  ปีการศึกษา 2557 จำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.) สหสัมพันธ์ของเพียรสัน (r) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น (Stepwise Multiple Regression)

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการการเรียนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.22 S.D.= .527) โดยแยกเป็นประเด็นพบว่าประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ประเด็นด้านการให้บริการนักศึกษา (  = 4.30 S.D.= .580) รองลงมาคือ ด้านสื่อ

เพิ่มเติม  (  = 4.22 S.D.= .568)  ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน (  = 4.22 S.D. = .674) ด้านเนื้อหา  (  = 4.20 S.D. = .547)  ด้านการเข้าถึงเว็บไซต์ (  = 4.20 S.D.= .623) และด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน (  =  4.19  S.D. = .689)  มีระดับความต้องการมาก ตามลำดับ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจัยด้านลักษณะการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาของนักศึกษา ปัจจัยด้านเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยกับความต้องการการเรียนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีดังนี้ ปัจจัยด้านการใช้โทรศัพท์เคลื่อน ได้แก่ ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์ windows mobile และขนาดหน้าจอที่ใช้ 6 นิ้ว มีความสัมพันธ์กับความต้องการการเรียนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาบัณฑิต วิทยาลัยการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .154 และ r = .168) ปัจจัยด้านการใช้อินเตอร์เพื่อการศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความต้องการการเรียนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .538) และปัจจัยด้านเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความต้องการการเรียนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .540)  3) ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการการเรียนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ปัจจัยด้านลักษณะการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาของนักศึกษา ในด้านพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต, ความต้องการใช้อินเทอร์เน็ต, สภาพแวดล้อมในการใช้อินเทอร์เน็ต และปัจจัยในด้านเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย ในด้านความพร้อมด้านเทคโนโลยี

 

Abstract

            The purpose of this research were 1) study the needed for mobile learning at Graduate school of eLearning, Assumption University 2) study the relationship between the use of mobile phones. Factors on the characteristics of the Internet for education of students. Factor for the technology needs of students for mobile learning at Graduate school of eLearning, Assumption University 3) study of needed factor for mobile learning at Graduate school of eLearning, Assumption University. The samples were Graduate students studying in Graduate school of eLearning, Assumption University, Academic Year 2010, 170 was used in this study were The instruments used in research 1) a structured interview 2) Questionnaire and the statistics used in this study were frequency (frequency), percentage (%), mean ( ). standard deviation (SD) of the Pearson correlation (r) and multiple regression analysis. A variable step (Stepwise Multiple Regression).

            The results showed that: 1) the learning needs of graduate students through mobile phone. Assumption University as a whole, was high (  = 4.22 S.D.= .527), which are issues that 

the issues with the highest average. The activities of the students (Student Support Services)      (  = 4.30 S.D.= .580), followed by additional media (Other Materials) (  = 4.22 S.D.= .568),         the communication between the student and the instructor (Student to Tutor) (  = 4.22       S.D. = .674), content (Course Content) ( = 4.20 S.D. = .547), the access to the site (Web site)              (  = 4.20 S.D. = .623), and the communication between the student and. Students (Student to Student) (  = 4.19 S.D. = .689) There is a high level of demand, respectively, 2) the relationship between the use of mobile phones. Factors on the characteristics of the Internet for education of students. Factor for the technology needs of students through mobile learning at Graduate school of eLearning, Assumption University are factors include The Use of mobile electronic device windows mobile operating system and a 6-inch screen size is related to the needed for mobile learning at Graduate school of eLearning, Assumption University The level of statistical significance. 05 (r = .154 and r = .168) predictor of Internet use for education. A moderate positive correlation with the needed for mobile learning at Graduate school of eLearning, Assumption University The level of statistical significance. 01 (r = .538), and technological factors of Assumption University. A moderate positive correlation with the needed for mobile learning at Graduate school of eLearning, Assumption University The level of statistical significance. 01 (r = .540) 3) factors that affect the needed for mobile learning at Graduate school of eLearning, Assumption University Statistically significant at the .05 level. The use of the Internet is a factor for the education of students. The behavior of the Internet, the demand for the Internet, the environment of the Internet. And factor in the technology of the university. The availability of technology

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ