การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ผ่านสมรรถนะหลักของบุคลากร สำนักงานประกันสังคม

Main Article Content

รัตนภัทร์ สุวรรณสิทธิ์
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร 2) สมรรถนะหลักของบุคลากร 3) ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน 4) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากร และ 5) สมรรถนะหลักของบุคลากรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานประจำที่ปฏิบัติงานสำนักงานประกันสังคม จำนวน 267 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้เทคนิควิธีนำเข้า

            ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง สมรรถนะหลักของบุคลากรอยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรที่มีอิทธิพลทางบวกต่อสมรรถนะหลักของบุคลากร คือ ด้านความมั่งคงในการทำงาน และด้านการสนับสนุนจิตอารมณ์ ส่วนการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรที่ไม่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากร คือ ด้านความรู้ในงานและโอกาสก้าวหน้า ด้านปัจจัยเกื้อหนุนในการปฏิบัติงานและด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการและสมรรถนะหลักของบุคลากรที่มีอิทธิพลทางบวกต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงาน คือ การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ และการทำงานเป็นทีม สมรรถนะหลักของบุคลากรที่มีอิทธิพลทางลบกับประสิทธิผลการปฏิบัติงาน คือ การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม ส่วนสมรรถนะหลักของบุคลากรที่ไม่มีอิทธิพลกับประสิทธิผลการปฏิบัติงาน คือ การบริการที่ดี ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ จะทำให้บุคลากรและผู้บริหารทราบถึงผลกระทบจากนโยบาย กฎระเบียบ ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ อีกทั้งยังเป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารในการกำหนดแผนหรือนโยบาย

การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ที่จะทำให้บุคลากรรับรู้ถึงการสนับสนุนจากองค์กร ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการบริการมีคุณภาพและมีประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้น

คำสำคัญของการวิจัย : การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร, สมรรถนะหลักของบุคลากร, ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน,สำนักงานประกันสังคม

 

Abstract

            The purposes of the research were to study 1) perceived organizational support 2) personnel core competency 3) performance effectiveness 4) perceived organizational support that was influential in personnel core competency and 5) personnel core competency that affected the performance effectiveness. The sample observed in this research consisted of 267 people who were civil servants, government employees, and permanent staff that were working at the Social Security Office. Data collection used in the research was questionnaire while the statistical figures used to analyze were frequency, percentage, mean, standard deviation and coefficient of correlation. The multiple regression analysis (enter regression) was used to prove a hypothesis. The results found that the perceived organizational support ranked in the fair level while the personnel core competency and the performance competency ranked in high level. Perceived organizational support that had positive impact on the personnel core competency were the stability of work and emotional support. However, perceived organizational support that did not affect the personnel core competency were working knowledge and career path, supporting factors, and compensation and welfare. The personnel core competency that had positive impact on performance effectiveness were expertise, achievement motivation, and teamwork; on the other hands, the personnel core competency that had negative impact on performance effectiveness was integrity. While the personnel core competency that had no impact on performance effectiveness was service mind. Finally, the results observed from this research would encourage not only the staff but also the executive to realize the effect of policy, human resources management regulation; moreover, those results would be guidelines for the executive in terms of policy and plan assignation. Such guidelines appear to be the better improvement for the organization.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ