แนวทางการปรับตัวของการประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน: กรณีศึกษา จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

สุชน ทิพย์ทิพากร
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบของการประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับจากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน 2) ผลกระทบของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 3) ผลกระทบและคุณภาพชีวิต แรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน และ 4) แนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ในจังหวัดนครปฐม โดยศึกษากลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พนักงานลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่ด้านแรงงานจากหน่วยงานของภาครัฐ 4 หน่วยงานผลการศึกษา พบว่า 1) รูปแบบของการประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นธุรกิจครอบครัว โดยเจ้าของธุรกิจเป็นผู้ตัดสินใจและมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการสั่งการ มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการสูง แต่ขาดความคิดเห็นรอบด้าน มักใช้การจัดจ้างคนภายนอก 2) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เป็นธุรกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้น ธุรกิจภาคเกษตรกรรมซึ่งราคาสินค้าเกษตรต่ำ ธุรกิจภาคบริการซึ่งต้องใช้แรงงานในการให้บริการ 3) ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ ผลกระทบด้านการบริหารงานบุคคล ผลกระทบด้านการเงิน ผลกระทบด้านการตลาด ผลกระทบด้านต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น และผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว 4) พนักงานมีความพึงพอใจ มีรายได้สูงขึ้น มีเงินเก็บออม  ส่วนผลกระทบต่อพนักงานด้านลบ เกิดจากผลจากการปรับตัวของนายจ้าง พนักงานส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงาน แต่ค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้นทำให้คุณภาพชีวิตไม่ได้สูงขึ้นเท่าที่ควร5) แนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ การจัดจ้างคนภายนอก การเปลี่ยนเครื่องจักรที่ทันสมัย การหาแหล่งวัตถุดิบจากแหล่งอื่น การว่าจ้างเป็นรายชิ้น การฝึกอบรมพนักงาน การบริหารทรัพยากรและการบริหารโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ :  แนวทางการปรับตัว / วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม / ค่าจ้างขั้นต่ำ

 

Abstract

            This research is to study 1) the pattern of SME business operation and the types of SMEs affected from 300 Baht Minimum Daily Wage Policy 2) the effects to SME entrepreneurs 3) the effects, the quality of life, and the working motivation to the workforce and 4) an adjustment guideline for SME entrepreneurs to 300 Baht Minimum Daily Wage Policy: case studies in Nakhon Pathom Province. The 3 studied groups are SME entrepreneurs, employees, and government employment officers from 4 organizations.

               This study finds that 1) A SME is a family business, in which the owner is the sole decision maker with absolute managerial power; therefore, a SME has high flexibility in management but lack of all-around visions and usually employs outsourcing. 2) SMEs affected from the 300 Baht Minimum Daily Wage Policy are business with high labor intensive, agricultural business with low price commodities, and service business. 3) The effects to the SME entrepreneurs are relating to human-resource management, finance, marketing, higher-priced raw materials, and alien workforce. 4) The workforce is content with the increased wage, has more saving; however, the negative effects can come from the employer adjustment to the increased wage policy. Most workforce has better quality of life, higher working motivation, but from inseparably higher expenditures, their quality of life is not as good as it should be. 5) The guideline for SME entrepreneur is to employ outsourcing, upgrade their machinery, find raw materials from other sources, hire contractors, train their staff, and exercise more efficient resource and logistic management.

KEY WORDS : ADJUSTMENT GUIDELINE/ SMALL AND MEDIUM ENTERPRISES/ MINIMUM DAILY WAGE

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ