เครื่องมือจำแนกพฤติกรรมบุคคล
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อทราบ (1) องค์ประกอบการจำแนกพฤติกรรมบุคคล (2) ตัวบ่งชี้ของเครื่องมือจำแนกพฤติกรรมบุคคล (3) ผลการยืนยันเครื่องมือจำแนกพฤติกรรมบุคคล การวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้องในการวิจัย ขั้นตอนที่ 2 กำหนดองค์ประกอบและตัวบ่งชี้องค์ประกอบ ขั้นตอนที่ 3 การยืนยันเครื่องมือจำแนกพฤติกรรมบุคคล เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามชนิดประมาณค่า กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 171 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล แต่ละโรงเรียน 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายบริหารงานบุคคล และตัวแทนหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รวม 513 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของเครื่องมือจำแนกพฤติกรรมบุคคล ประกอบด้วยพฤติกรรม 9 ประเภท คือ 1) ผู้โน้มน้าว 2) ผู้สำนึกในหน้าที่ 3) ผู้รับผิดชอบ 4) ผู้องอาจ 5) ผู้ริเริ่ม 6) ผู้ยินยอม 7) ผู้คล้อยตาม 8) ผู้ยึดมั่นชอบธรรม และ 9) ผู้จัดการตนเอง
2. ตัวบ่งชี้ของเครื่องมือจำแนกพฤติกรรมของบุคคลทั้งหมด 76 ข้อ จำแนกเป็นผู้โน้มน้าว 13 ข้อ ผู้สำนึกในหน้าที่ 10 ข้อ ผู้รับผิดชอบ 10 ข้อ ผู้องอาจ 8 ข้อ ผู้ริเริ่ม 9 ผู้ยินยอม 8 ข้อ ผู้คล้อยตามมี 9 ข้อ ผู้ยึดมั่นชอบธรรม 6 ข้อ และ ผู้จัดการตนเอง
3. ข้อผู้ทรงคุณวุฒิยืนยันว่าเครื่องมือจำแนกพฤติกรรมบุคคลมีความน่าเชื่อถือ มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานตามและเมื่อนำไปทดลองใช้จริงผู้ใช้เครื่องยอมรับผลการจำแนกพฤติกรรมของตนเอง
คำสำคัญ: การจำแนกพฤติกรรมบุคคล
Abstract
This research design used both of quantitative and qualitative methodology. The purposes of this study were to (1) identification the components of human behavior (2) the indicator of the classification instruments for identification of human behavior and (3) the results of the confirmation of the identification human behavior classification instruments. This investigation comprised three processes as follows. 1) firstly set the specification of the variable related to the research 2) set the components and the indicators, and 3) confirm the classification instrument for identification of human behavior in secondary schools under the jurisdiction of the office of basic education commission. The instrument employed for data collection was a questionnaire. The samples were 171 secondary schools under the jurisdiction of the office of basic education commission. The respondents were directors, assistant directors of personnel administration, and representative of schools departments total 513 respondents. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, and exploratory factor analysis.
The finding of this study were as follows;
1. The components and the indicators of the classification instruments for identification of human behavior in secondary schools under the jurisdiction of the office of basic education commission consisted of nine behaviors (1) Person of Influence (2) Person of Conscientious (3) Person of Responsibility (4) Person of Courage (5) Person of Initiative (6) Person of Compromise (7) Person of Compliance (8) Person of Integrity and (9) Person of self-management.
2. The indicators of the classification instruments for identification of human behavior composed of 76 indicators those were 13 indicators of person of influence, 10 indicators of person of conscientious, 10 indicators of person of responsibility, 8 indicators of person of courage, 9 indicators of person of initiative, 8 indicators of person of compromise, 9 indicators of person of compliance, 6 indicators of person of integrity, and 3 indicators of person of self-management.
3. The experts confirmed the quality the classification instruments for identification of human behavior in secondary schools were standard instruments. The representative samples accepted the results from the classification instruments for identification of human behavior in secondary schools.
KEY WORD: THE CLASSIFICATION FOR IDENTIFICATION OF HUMAN BEHAVIOR