ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การบวกเลข ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองสองห้อง(อินทปัญญาราษฎร์นุกูล) อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

อมรรัตน์ ทองดี
ศิวนิต อรรถวุฒิกุล

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ  1) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การบวกเลข ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70   2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การบวกเลขของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1   และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การบวกเลข ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ประชากรในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองสองห้อง(อินทปัญญาราษฎร์นุกูล)  อ.โพธาราม  จ.ราชบุรี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557  จำนวน 1 ห้อง  มีนักเรียน จำนวน 20 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย   ประกอบไปด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสื่อมัลติมีเดียในการแก้ปัญหา เรื่อง การบวกเลข   2) สื่อมัลติมีเดียในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การบวกเลข  3)  แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดียในการแก้ปัญหา เรื่อง การบวกเลข ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์  และ 5)  แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียในการแก้ปัญหา เรื่อง การบวกเลข  การวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย (m) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) ผลการวิจัยพบว่า  

1)            ประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียเพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง การบวกเลข มีค่าเท่ากับ 73.00/73.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และมีคุณภาพสื่อมัลติมีเดียเพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง การบวกเลข อยู่ในเกณฑ์ดี

            2)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังจากที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การบวกเลข ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น   หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 

            3)  นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อสื่อมัลติมีเดียในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การบวกเลข อยู่ในระดับมาก

 

                   

Abstract

            The objectives of this research were (1) to develop a multimedia for the problem-solving in addition of Phathom 1 to meet the efficiency (2) compare the students’ achievement in mathematics on the topic of multimedia before and after learning by using cooperative multimedia with a multimedia for the problem-solving in addition of Phathom 1. and (3) study the level of student’s satisfaction towards a multimedia for the problem-solving in addition of Phathom 1. Population of this research were 20  Phathom 1 students at Ban Nong Song Hong (Intapanyaratnukol) School in Photharam, Ratchaburi Province, which to used conventional method, during the first semester of 2014 school year.  The instruments used in this study (1) the interview using the structural questionnaires a multimedia for the problem-solving in addition (2) a multimedia for the problem-solving in addition (3) learning management plan in a multimedia for the problem-solving in addition of Phathom 1 (4) a multiplication achievement test and (5) a satisfaction questionnaire which was used a multimedia for the problem-solving in addition. The data were analyzed by using average (m), and standard deviation. The results showed that.

            1)  The efficiency of the developed multimedia for practice problem-solving skills in addition was 73.00/73.50 which was higher than the 70/70 standard criterion set. And the quality of content aspect was as good level.

            2)  The achievement of Phathom 1 students before and after learning from a multimedia for the problem-solving in addition.

            3)  The satisfaction of the students to a multimedia for the problem-solving in addition of Phathom 1 were at high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ