รูปแบบการวางแผนอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1)องค์ประกอบการวางแผนอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) รูปแบบการวางแผนอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) ผลการยืนยันรูปแบบการวางแผนอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 1) การศึกษาวิเคราะห์เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) การสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการวางแผนอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ3) การตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการวางแผนอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏโดยอ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญจากการใช้วิธีการชาติพันธุ์วรรณากลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 38 มหาวิทยาลัย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบการวางแผนอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การควบคุมอาคาร การบำรุงรักษา สิ่งอำนวยความสะดวก การออกแบบอาคารสถานที่ การจัดการพลังงานในอาคาร และการบริหารงานทั่วไป
2. รูปแบบการวางแผนอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏประกอบด้วย 6องค์ประกอบโดยทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์กันและมีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารงานทั่วไปและการควบคุมอาคารมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการบริหารงานทั่วไป โดยผ่านการบำรุงรักษา และผ่านสิ่งอำนวยความสะดวก การบำรุงรักษา มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการบริหารงานทั่วไป โดยผ่านการออกแบบอาคารสถานที่ ผ่านสิ่งอำนวยความสะดวก และผ่านการจัดการพลังงานในอาคาร สิ่งอำนวยความสะดวกมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการบริหารงานทั่วไป โดยผ่านการจัดการพลังงาน
ในอาคาร และสุดท้ายคือการออกแบบอาคารสถานที่ มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการบริหารงานทั่วไป โดยผ่านการควบคุมอาคารและผ่านการจัดการพลังงานในอาคาร
3. รูปแบบการวางแผนอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏได้รับการยืนยันจากผู้ทรงคุณวุฒิ ว่ามีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ สอดคล้องกับกรอบแนวคิดทฤษฏีของการวิจัย
คำสำคัญ:การวางแผนอาคารสถานที่ , มหาวิทยาลัยราชภัฏ
Abstract
The purposes of this research were to identify ; 1) the factors of school plant planning of Rajabhat universities, 2) the model of school plant planning of Rajabhat universities and 3) to confirm the model of school plant planning of Rajabhat universities. This research was a descriptive research. There were three steps of this research; 1) analysis the conceptual framework in school plant planning in Rajabhat universities, 2) creating the causal relationship of the school plant planning in Rajabhat universities, and 3) examination the causal relationship model of school plant planning in Rajabhat universities by experts from the Ethnographic Futures Research technique (EFR). The samples were 38 Rajabhat universities. The respondents were administrators, academic staffs, and support staffs in Rajabhat universitieswith the total of 342 respondents. The instruments used for collecting the data were semi-structured interview form and opinionnaire. The statistical used for analysis the data were content analysis, frequency, percentage, arithmetic mean,standard deviation , Exploratory Factor Analysis, and Path Analysis.
The research findings revealed that :
1) The components of school plant planning factors of Rajabhat universities consisted of six components :Building Control, Maintenance, Facilities, Building Design, Energy Management in the Building, and General Administration.
2) The model of school plant planning of Rajabhat universities consisted of six components. All of components were correlated with each others while each component had direct effected to General Administration. Building Control had indirect effected on General Administration by Maintenance and Facilities. Maintenance had indirect effected on General Administration by Building Design, Facilities, and Energy Management in the Building. Facilities had indirect effected on General Administration by Energy Management in the Building. Finally, Building Design had indirect effected on General Administration by Building Control and Energy Management in the Building.
3) The model of school plant planning of Rajabhat universities was confirmatedby the experts that appropriate, accurate, possible, correct, useful, and accordant with the conceptual framework.
Keyword :School Plant Planing , Rajabhat Universities