NPPC model: รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการโค้ช

Main Article Content

พนิดา จารย์อุปการะ
มาเรียม นิลพันธุ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการโค้ชของครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึก ประเด็นสนทนา และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ

               ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการโค้ชของครู

หัวหน้า กลุ่มสาระการเรียนรู้มีชื่อว่า “NPPC model” มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ เป็นการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องโดยในระหว่างการดำเนินงานครูมีส่วนร่วมในการเสนอแนะความคิดเห็นและทำงานร่วมกัน 2) วัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการโค้ชของผู้โค้ชให้สามารถส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้รับการโค้ชพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียน 3) กระบวนการพัฒนาวิชาชีพ ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (Needs Analyzing : N) ระยะที่ 2 เตรียมความพร้อมในการพัฒนาวิชาชีพ (Preparing for Professional Development: P) ระยะที่ 3 การดำเนินการพัฒนาวิชาชีพ (Proceeding: P) ซึ่งประกอบด้วย 3.1) การวางแผนการโค้ช (Planning) 3.2) การร่วมมือกับโค้ช (Collaborating)3.3) การสะท้อนการสนทนา (Reflecting conversation) 3.4) การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Action learning) 3.5) การประเมินผลเพื่อการพัฒนา (Assessing for improving) ระยะที่ 4 การทำงานร่วมกันในการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (Collaborating Continuous  Professional Development: C) และ 4 ) ปัจจัยสนับสนุนในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย 1) นโยบายของหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิชาชีพ 2) ผู้บริหารโรงเรียนเห็นความสำคัญของการพัฒนาให้การส่งเสริมสนับสนุนในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและเวลาในการดำเนินงาน 3) ความสมัครใจของผู้โค้ชและผู้รับการโค้ชในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง 4) ผู้โค้ชและผู้รับการโค้ชมีมิตรภาพที่

ดีและให้ความไว้วางใจกันในการดำเนินงาน 5) ในการส่งเสริมสมรรถนะการโค้ชจำเป็นต้องมีผู้ดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ (Mentor) โดยผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการโค้ชหลักสูตร การออกแบบการสอน และการ            วัดประเมินผล โดยพบว่า รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการโค้ชมีประสิทธิภาพ

 

Abstract

            The objective of the research was to develop and determine the quality of the Professional Development Model for the Enhancement of Coaching Competency of Subject Area Master Teachers; The research instruments consisted of the questionnaires about the opinions toward the coaching management. The data was content analysis.

               The research findings was follows: The Professional Development Model for the Enhancement of Coaching Competency of Subject Area Master Teachers which was called “NPPC Model” consisted of 4 elements .There were 1) principles: the systematic procedures for continuous professional development that allowed teachers to share opinions and work cooperatively, 2) objectives: to enhance coaching competency of coaches to support teaching and learning management of trained professionals for learning achievements of learners, 3) process of professional development was 4 stages: stage 1- Needs Analyzing (N), stage 2- Preparing for professional development (P), stage 3- Proceeding (P) 3.1) planning 3.2) collaborating  3.3) reflecting conversation 3.4) action learning 3.5) assessing for improving, and stage 4-  Collaborating Continuous  Professional Development (C), and 4) supporting factors to successfully implement the model which consisted of: 4.1) organization policy, 4.2) administrators supported, 4.3) willingness of both coaches and trained professionals, 4.4)  good relationship among coaches and trained professionals, and 4.5) enhancing coaching competency, mentoring is necessary especially in curriculum, instructional design, and assessment. The model was appropriate

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ