การพัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่อง การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย สำหรับบุคลากรสายสนับสนุน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

ผกาทิพย์ นันทไชย
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่อง การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการอบรมด้วยชุดฝึกอบรม เรื่อง การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยสำหรับ บุคลากรสายสนับสนุนคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรสายสนับสนุนคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีต่อชุดฝึกอบรม เรื่อง การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ.2558  มหาวิทยาลัยมหิดลจำนวน  30 คน จากการอาสาสมัคร ระยะเวลาในการทดลอง 2 สัปดาห์

            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับชุดฝึกอบรมเรื่องการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย 2) ชุดฝึกอบรมเรื่องการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์จากการอบรมเรื่องการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 4)  แบบสอบถามความพึงพอใจของของบุคลากรสายสนับสนุน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีต่อชุดฝึกอบรมเรื่องการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย สถิติที่ใช้ใน

การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบ ค่าที (t-test          แบบ Dependent) 

                    ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมเรื่องการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย สำหรับบุคลากรสายสนับสนุน  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80.33/84.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังการอบรมด้วยชุดฝึกอบรมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  3) ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมโดยชุดฝึกอบรมเรื่องการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยนเท่ากับ 4.44 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.20

 

Abstract

            The purposes of this research were to 1) Development of training package in the topic of routine to research for supporting staff, Faculty of Engineering, Mahidol University  2) Compare supporting staff’s learning achievement scored pretest and posttest 3) Study supporting staff’s satisfication toword  of the training package in the topic of routine to research. The research samples consisted of 30 supporting staff at Faculty of Engineering, Mahidol University The academic year of 2015 by Volunteer. The research instruments used for gathering data were  1) A structured interview about training Package in routine to research. 2) training package in the topic of routine to research for supporting staff, 3) a learning achievement test  4) A questionnaire on satisfication towords training package in the topic of routine to research for supporting staff. The collected data were analyzed by mean, standard deviation, Index of Item, difficulty index, discrimination, reliability, and t-test Dependent and Independent.

            The results  of  this  research  were  as  the  following:

            1) The training package in the topic of routine to research for supporting staff, was found at E1/E2 80.33/84.11

            2) Posttest of training package in the topic of routine to research for supporting staff  was  higher  than pretest  at .01  level  of  significance.

            3)  The participated for supporting staff’s satisfaction towards the training package ware at a high level  (  = 4.44, S.D = 0.20).

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ