บุญข้าวสากในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม “ไทด่าน”

Main Article Content

เอกรินทร์ พึ่งประชา

Abstract

บทคัดย่อ 

          บุญข้าวสากในมิติสังคมและวัฒนธรรมไทด่านเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพรวบรวมข้อมูลทั้งจากระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ กล่าวคือ ข้อมูลปฐมภูมิได้จากงานภาคสนามประกอบด้วยการเก็บข้อมูลทางชาติพันธุ์วรรณนา การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม  ส่วนข้อมูลทุติยภูมิรวบรวมจากเอกสารสิ่งพิมพ์และวรรณกรรมต่างๆ  ก่อนสังเคราะห์และนำเสนอในเชิงบอกเล่าเรื่องราว โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อทดลองวิเคราะห์ผ่านการตีความสาระสำคัญของงานบุญข้าวสากในมิติสังคมและวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงเข้ากับบทบาททางความเชื่อ โลกทัศน์หลังความตาย อัตลักษณ์และระบบนิเวศของคนไทด่าน ผลการศึกษาพบว่าบุญข้าวสาก “ไทด่าน” อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นงานประเพณีรอบปี จัดขึ้นช่วงวันขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนสิบ ตามปฏิทินจันทรคติ สาระสำคัญของงานบุญจะมีลักษณะเช่นเดียวกับงานบุญเดือนสิบของทางภาคใต้ สารทไทยภาคกลาง สลากภัตภาคเหนือ และบุญข้าวสากในบางพื้นที่ของภาคอีสาน เป็นการทำบุญอุทิศให้กับผู้ล่วงลับ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่รายละเอียดจะพบว่า บุญข้าวสากไทด่านกลับสื่อถึงรูปแบบงานบุญที่มีอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่ม สะท้อนให้เห็นประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมชาติพันธุ์ของคนไทด่านที่สืบเชื้อสายจากกลุ่มคนลาวหลวงพระบาง ตลอดจนการปรับตัวของชาวบ้าน โดยใช้ความเชื่อเพื่อเหตุผลทางจิตใจ ชีวิตหลังความตายและสัมพันธ์กับบริบทนิเวศที่เชื่อมโยงเข้ากับการดำรงชีพในวิถีการเกษตร 

Abstract

            “Boon Khaw Sak” in socio-cultural contexts of “Tai Dan” is a qualitative research collected by primary and secondary sources. Before analysis and synthesis, primary sources were conducted in many methods: ethnography, focus group interview, in-depth interview, and observe participation and secondary sources were collected from publications. Key objectives of this paper are experimental analysis by interpretation of Boon Khaw Sak in socio-cultural contexts to link with functional belief, afterlife concept, and ecology of “Tai Dan”. “Boon Khaw Sak” of Tai Dan, Dansai District, Loei Province is year-round tradition, practiced in the waning days of the first lunar month of 10 to come. Key idea of this tradition is similar to “Boon Salakphart” in the Northern, “Sarth” in the Central, Boon Deon Sip in the Southern, and Boon Khaw Sak of some areas in the Northeastern Thailand, which people devote merit to the souls of the ancestors and relatives of the deceased. However, carefully considered, we found that Boon Khaw Sak implies to identity of local people. This tradition reflects that socio-cultural Tai Dan who migrated from Laos Luang Phra Bang and adaptation of local people for psychological reasons, after death believe, and ecological contexts linked with agricultural ways.  

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ