การค้าขายทางทะเลระหว่างเมืองโบราณสมัยทวารวดีกับประเทศจีนและภูมิภาคตะวันออกกลาง

Main Article Content

สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง

Abstract

บทคัดย่อ

            โบราณวัตถุประเภทหนึ่งที่ได้ค้นพบเป็นจำนวนมากจากการขุดค้นตามเมืองโบราณสมัยทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทยคือ ลูกปัดแก้ว ซึ่งสามารถนำมาศึกษาแปลความถึงสภาพของการค้าขายแลกเปลี่ยนในสมัยทวารวดีได้ จากการวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบหลักของลูกปัดแก้วสมัยทวารวดีด้วยเครื่องมือ Electron Probe Micro-Analyzer (EPMA) พบว่ามีกลุ่มลูกปัดแก้วซึ่งมีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ในประเทศจีนและภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยในช่วงร่วมสมัยทวารวดี (ราว พ.ศ. 1100–1600) นั้น ประเทศจีนปกครองโดยราชวงศ์ถัง ส่วนดินแดนตะวันออกกลางอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อับบาสิยะฮ์ ซึ่งต่างส่งเสริมการค้าขายตามเส้นทางสายไหมทางทะเล จึงได้พบลูกปัดแก้ว ตลอดจนเครื่องถ้วย เหรียญกษาปณ์ และเรือสินค้า ซึ่งมีที่มาหรือแหล่งผลิตจากประเทศจีนและภูมิภาคตะวันออกกลางในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย

Abstract

               Glass bead is one of archaeological evidence that usually found during the excavation at Dvaravati sites in central Thailand. The study of glass bead can explained the trade system in Dvaravati period. This research is aim to analyzed the elemental composition of some glass beads, with Electron Probe Micro-Analyzer (EPMA), which can detect some glass beads from China and Middle East region. By reason of during Dvaravati period (circa 600 – 1100 AD.), China was under the rule of the T’ang dynasty and Middle East was under the control of Abbasid dynasty which also support the trade along the maritime silk road. Therefore, Chinese and Middle East glass beads, including imported ceramics, coins and Arab’s ship were discovered in central Thailand.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ