การใช้สังเกตสังขยาในจารึกกัลยาณี

Main Article Content

ชัยณรงค์ กลิ่นน้อย

Abstract

บทคัดย่อ

            บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์คำศัพท์ภาษาบาลีในจารึกมยะเจดีย์และจารึกกัลยาณีในประเทศพม่า” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับหลังจากการทำวิจัยในหัวข้อดังกล่าว ในประเด็นเกี่ยวกับการใช้คำสังขยาที่ปรากฏในจารึกกัลยาณี ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในจารึกดังกล่าวมีการใช้คำสังขยาทั้ง 3 รูปแบบ ได้แก่ ปกติสังขยา ปูรณสังขยา และสังเกตสังขยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังเกตสังขยาที่มีใช้ในจารึกกัลยาณี เป็นเพราะว่า จารึกกัลยาณีมีตัวเลขที่ระบุถึงปีศักราช ดังนั้นเพื่อให้การกำหนดปีศักราช มีกำหนดแน่นอนตายตัว จึงนิยมใช้สังเกตสังขยาเป็นส่วนใหญ่ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาเรื่องศัพท์สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเลขศักราชในจารึกภาษาสันสกฤตที่นักวิชาการได้ศึกษาไว้

Abstract

            This paper is some part of the research entitled “An analytical study of Pali Vocabulary in Myazedi and kalyani Inscription in Burma.” The purpose of this is to present the new wisdom in the point of view of using Savkhya (Number) in the Inscription. The result to study has been discovered that there are three kinds of Savkhya i.e. Pakati Savkhya, Purana Savkhya and Savketa Savkhya. It is to be considered that Savketa Savkhya is used in Kalyani Inscription in order to specify the exact time about the year to do anything in the Inscription. It is exactly true along with the study of symbol of numeral Era in Sanskrit Inscription.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ